วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ทบทวนชีวิตเหล่าชูฮาดาอ์ : สายลมไหวอ่อนๆ จากสวรรค์ชั้นฟิรเดาส์



                                                        ซาเล็ม อับดุลลอฮ
    


          การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮ ผู้เป็นพระเจ้าเพียงหนึ่งเดียวแห่งสากล ขอความสันติสุขจงมีแด่บรรดามุจาฮิดีนผู้ซึ่งดำเนินตามวิถีทางแห่งมุฮัมมัด บินอับดุลลอฮและเหล่าสหายผู้ประเสริฐของท่าน ขอความสันติสุขจงมีแด่ผู้ปฏิบัติเจริญรอยตามท่านตราบวันสุดท้าย
     ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสจากวารสารชมรมมุสลิม มอ.ปัตตานี ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนได้เขียนบทความในคอนเซ็ปที่ว่า ทบทวนชีวิตแบบไม่จำกัดจำนวนหน้าเพื่อตีพิมพ์ลงวารสารชมรมซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ขออัลลอฮตอบแทนคุณความดีแก่ท่าน
     ผู้เขียนเขียนบทความนี้ขึ้นมามีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่าถึงอีกวิถีหนึ่งแห่งชีวิตของบรรดาผู้ซึ่งได้ญิฮาดเพื่อสถาปนากฎหมายของอัลลอฮขึ้นมาบนหน้าแผ่นดินของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง ชีวิตของบุคคลเหล่านี้เป็นวิถีชีวิตซึ่งแสดงออกให้เห็นในทุกอย่างก้าวของพวกเขาเพื่อการยืนยันประโยคเดียวที่ว่า ไม่มีพระเจ้าอื่น นอกจากอัลลอฮ
     อัลลอฮได้ส่งสัจธรรมผ่านการประกาศของศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติมีแด่ท่าน) ซึ่งประวัติศาสตร์แห่งช่วงชีวิตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติมีแด่ท่าน) เป็นประวัติศาสตร์ซึ่งได้ยืนยันแล้วว่าหนึ่งในสิ่งสำคัญในการเผยแพร่และปกป้องสัจธรรมของอัลลอฮจากฏอฆูตก็คือการญิฮาด  ดังคำพูดของศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติมีแด่ท่าน) ที่ว่า
ประตูแห่งสวรรค์อยู่ใต้ร่มเงาแห่งคมดาบ[1]
    

มันเป็นการกล่าวอย่างมือบอดมากหากใครก็ตามที่พยายามจะสร้างโลกแห่งการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกกรณี เพราะประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติได้ยืนยันแล้วว่าเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ซึ่งในเรื่องนี้ท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความสันติมีแด่ท่าน)  ก็ได้ยืนยันเช่นกันดังคำพูดของท่านว่า
     “รากของการศรัทธานั้นมีอยู่3 ประการด้วยกัน คือ 1) การระงับจากการเข่นฆ่าผู้ที่เปล่งออกมาซึ่ง ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮและไม่กล่าวหาว่าเขาผู้นั้นคือผู้ปฏิเสธศรัทธาแม้ว่าเขาจะกระทำความชั่วซักเพียงใดก็ตาม และอย่าขับไล่เขาออกจากอิสลามเนื่องด้วยการกระทำใดๆของเขา  2) การญิฮาดจะยังคงดำเนินต่อไปนับตั้งแต่วันที่อัลลอฮฺส่งฉันลงมาในฐานะศาสนทูตแห่งมวลมนุษยชาติจนถึงวันที่สมาชิกคนสุดท้ายจากครอบครัวของฉันจะต่อสู้กับ ดัจญาน การกดขี่ของทุกๆทรราชและการตัดสินของทุกๆผู้ปกครองจะไม่ทำให้มันเป็นโมฆะ 3) คนผู้นั้นต้องมีศรัทธาต่อกฎสภาวะของพระองค์[2]
     และเช่นกันมันย่อมเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ซึ่งเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวจะสามารถอยู่ในแผ่นดินซึ่งมีแต่การเคารพฏอฆูตตัวต่างๆอย่างมากมายเช่นปัจจุบัน ดังนั้นนับแต่ประวัติศาสตร์ยุคแรกของอิสลามจนกรัทั่งปัจจุบันจึงเป็นประวัติศาสตร์แห่งการถล่มฏอฆูต เริ่มจากการตั้งภาคี การเชื่อในพระเจ้าอื่นๆ ลัทธิพระเจ้าหลายองค์ ลัทธิยกตนขึ้นเป็นพระเจ้า และในปัจจุบันเป็นการต่อสู้กับฏอฆูตที่มาในนามกฏหมายอื่นนอกเหนือประกาศิตแห่งอัลลอฮ กฎหมายที่มาในนามลัทธิมนุษยนิยม เสรีภาพจอมปลอมและฏอฆูตประชาธิปไตยนั่นเอง
และแน่นอนว่าการญิฮาดจะยังคงดำเนินตราบวันพิพากษา

อ่านเเละดาวน์โหลดบทความเต็มที่           

http://www.4shared.com/document/w2RLFMaG/___online.html


[1] บันทึกโดยอิมามมุสลิม
[2] บันทึกโดยอิมาม อบูดาวู

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ฤา ประชาธิปไตยคือการแก้ผ้า

อัลลอฮ์ได้ส่งสัจธรรมผ่านการประกาศของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ็อลฯ หนึ่งในข้อบัญญัติที่อัลลอฮ์

กำหนดแก่บรรดาผู้ศรัทธาหญิงคือการปกปิดร่างกายด้วยผ้าคลุมศรีษะลงมาถึงหน้าอกของเธอ(อันนูร:31)

คำตอบสำหรับผู้ศรัทธาหญิงต่อบทบัญญัติข้างต้นคือ เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟัง เราปฏิบัติตาม(อันนูร:51)  แต่ในยุคปัจจุบันลัทธิฏอฆูตที่ขนานนามกันว่าประชาธิปไตยกำลังคุกคามหลักการข้อนี้ของพระผู้เป็นเจ้า

อัลลอฮ์สั่งให้ปกปิดร่างกาย    (อันนูร:31)

ประชาธิปไตยบอกว่า ผู้หญิงต้องมีสิทธิสตรีในการแต่งกาย

อัลลอฮ์บอกว่าทุกสรรพสิ่งเป็นของพระองค์และจำต้องสิโรราบต่อบทบัญญัติของพระองค์  (อันนูร:42)

ประชาธิปไตยบอกว่า ผู้หญิงโชว์ร่างกายของตนเอง

อัลลอฮ์บอกว่าพระองค์สร้างมนุษย์มาในสภาพที่สวยงาม (อัตตีน:4)

ประชาธิปไตยบอกว่าอัลลอฮ์ผิดพลาดในการสร้าง ดังนั้นผู้หญิงควรศัลยกรรมตกแต่งร่างกายเพื่อความสวยงาม

อัลลอฮบอกว่าผู้ศรัทธาหญิงจะสงวนความสวยงามของนาง เพื่อสามีของนางเท่านั้น (อันนูร:31)

ประชาธิปไตยบอกว่า ผู้หญิงควรแก้ผ้าเพื่อแสดงให้บุรุษเพศที่เห็นเธอลุ่มหลง

ทุกวันนี้ดูเหมือนว่ามุสลิมผู้ซึ่งประกาศว่าตนเองคือผู้เชื่อฟังและสิโรราบต่อบัญญัติของอัลลอฮ์อย่างไม่มีเงื่อนไข กำลังเห็นดีเห็นงามกับลัทธิเจว็ดนี้ ด้วยการดัดแปลงลักษณะการแต่งกายของพวกเธอไปในลักษณะต่างๆ ประหนึ่งไม่มีความแตกต่างใดๆเลยกับผู้ซึ่งปฏิเสธการปกปิดที่อัลลอฮ์บัญญัติ

พวกเธอดัดแปลงเครื่องแต่งกายไปเพื่อความทันสมัย เพื่อความเป็นประชาธิปไตยและโลกาวิวัฒน์จนแทบไม่คิดถึงวันโลกาวินาศกันบ้างเลย  พวกเธอปิดบังเส้นผมเพียงเพื่อให้สังคมรับรู้ว่าพวกเธอเป็นมุสลิมเท่านั้นเอง

โอ้พี่น้องผู้ศรัทธาหญิงถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องทบทวน ถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องกล้าที่จะยืนเพื่อประกาศว่า........

ฉันศรัทธาในอัลลอฮ์ ฉันปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์
หากการคลุมฮิญาบ หากการปกปิดคือการกดขี่
พวกเราขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า.......

“พวกเรามีความยินดีที่จะถูกกดขี่  ดีกว่าการมีเสรีภาพด้วยการแก้ผ้า”


เพิ่มเติมที่  Baitulansar.info

มายาคติของนักสังคมศาสตร์มุสลิม

بسم الله الرحمن الرحيم


และแท้จริงจากหมู่พวกเขานั้น มีกลุ่มหนึ่งบิดลิ้นของพวกเขา ในการอ่านคัมภีร์ ทั้งๆ ที่มันมิได้มาจากคัมภีร์ และพวกเขากล่าวว่า มันมาจากที่อัลลอฮ์ทั้งๆ ที่มันมิใช่มาจากอัลลอฮ์ และพวกเขากล่าวความเท็จให้แก่อัลลอฮ์ ทั้งๆ ที่พวกเขาก็รู้กันดีอยู่- 78-อาลิอิมรอน


บทนำ
     กระแสหลักของวงการวิชาการสังคมศาสตร์ในปัจจุบัน ได้แก่กระแสแห่งความเข้าใจและชุดของคำอธิบายในรูปแบบของวาทกรรม (discourse)  เพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ความเป็นไป (Dynamics) ของสังคมในแต่ละกระแสแห่งความเป็นไป ปฏิบัติการทางภาษาแห่งวาทกรรมจึงดูเหมือนว่าโดยตัวของมันเองแล้วเป็นการสร้างวาทกรรมขึ้นมาอีกอย่างวาทกรรมหนึ่งซึ่งผู้เขียนได้วิพากษ์วาทกรรมของวาทกรรมในหัวข้อถัดไป
     ในบทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอการวิพากษ์กระแส Islamization หรืออิสลามาภิวัฒน์/อิสลามานุวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความเข้าใจของมุสลิมใน Islamization และชุดของคำอธิบายซึ่งดูเหมือนว่าในปัจจุบันความเข้าใจต่อ Islamization จะเป็นไปในรูปแบบ Islamic-Modernization หรือแม้แต่ Islamic-Westernization ซี่งในท้ายที่สุดก็สรุป(เอาดื้อๆ)ว่าคืออิสลาม(ซึ่งไม่เหมือนกันกับคือมุสลิม)
     วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจ จุดยืนและหลักการ อิสลามต่อกระแสปรากฏการณ์ต่างของสังคม เข้าใจและสามารถอธิบายว่าอิสลามมีจุดยืนอย่างไรต่อสิ่งเหล่านั้น โดยเฉพาะในปัจจุบันวงการวิชาการสังคมศาสตร์มุสลิม(และสังคมศาสตร์กระแสหลักซึ่งสนใจศึกษาวิชาการด้านอิสลาม) นักวิชาการสังคมศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยในทัศนะของผู้เขียนมี 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ประเภทแรก เป็นนักวิชาการซึ่งนำวิชาการสาขาที่ตนเองได้ศึกษา(และถูกจริตด้วย)มาประยุกต์กับอิสลาม แล้วสร้างชุดของคำอธิบายว่าอิสลามเป็นอย่างไร โดยไม่ได้ทำให้สัจธรรมปรากฏขึ้นเลยเพราะมองแบบแยกส่วน(เพราะมองตามจริตของตัวเอง) เพราะมองมุมเดียวแล้วมาเหมารวมว่าอิสลามเป็นแบบนี้ (Monolith)
ประเภทที่สอง เป็นนักวิชาการประเภทอิสลามสัจธรรมโดยไม่ต้องอภิปราย นักวิชาการประเภทนี้จะไม่สามารถวิพากษ์กระแสอื่นๆโดยใช้อิสลามเป็นฐานได้เลย(หรือได้แต่มักไม่ลุ่มลึก) นักวิชาการประเภทนี้ถือเป็นกลุ่ม Islamist กลุ่มหนึ่ง
 จากประเภทของนักวิชาการทั้งสองกลุ่มข้างต้นถือเป็นความไม่สมดุลของนักวิชาการมุสลิม
ประเภทที่สาม เป็นนักวิชาการสายวิพากษ์ ผู้เขียนขอให้คำนิยามกลุ่มนี้ว่าเป็น Radical Islamist  ซึ่งถือเป็นกลุ่ม Islamist อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีพื้นที่ทางวิชาการอยู่ระหว่างสองกลุ่มแรกและเป็นกลุ่มปัญญาชนซึ่งปะทะทางความคิด/ทัศนะทางวิชาการกับกลุ่มแรกมาก ด้วยเหตุผลที่ว่ากลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มองอิสลามแบบมุมเดียวและทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ประเภทที่สี่ เป็นนักวิชาการประเภทที่เป็นมุสลิมเท่านั่นซึ่งผู้เขียนจะไม่ขออภิปรายถึงกลุ่มเหล่านี้

Islamization  ในฐานะที่เป็นวาทกรรม
     วาทกรรม (discourse) ไม่ได้หมายถึง คำพูด ภาษา หรือวาทศิลป์อย่างที่มักเข้าใจในความหมายทั่วไป แต่วาทกรรมในความหมายทางสังคมศาสตร์หมายถึงชุดคำอธิบายที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมซึ่งเป็นกระบวนการสร้าง/ผลิต ลักษณะ/เอกลักษณ์ให้กับความเป็นไปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบคิด ความรู้ ความเชื่อและตรึงสิ่งเหล่านั้นให้อยู่ในระบบคิดของคนในสังคมให้อยู่ในระบบหรือแบบแผนเดียวกัน(Hegemony)
     การวิเคราะห์วาทกรรมด้วยกรอบคิดของแนวการวิเคราะห์วาทกรรมหลักและวาทกรรมกระแสรองซึ่งต่อสู้เพื่อแย่งชิงพื้นที่(space)ทางความคิดของสังคม/ผู้คน ซึ่งแวทางการวิเคราะห์เป็นมุมมอง/กรอบคิดของักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักรัฐศาสตร์ตะวันตก(แม้ว่าจะเป็นชาวเอเซียนก็ตาม แต่แทบทั้งหมดผ่านระบบการศึกษาแบบตะวันตก) แนวทางวิเคราะห์ข้างต้นจึงเกิดการ ไม่สิ้นสุด ของการวิเคราะห์วาทวาทกรรมด้วยเหตุที่ว่าสังคมย่อมไม่แช่แข็งอยู่กับที่ ดังนั้นในปัจจุบันจึงเกิดลัทธิมัวะตาซิละสมัยใหม่ซึ่งเป็นการใช้ปัญญาวิเคราะห์ไปอย่างเลยเถิดและไม่มีฐานคิด/แกนคิดที่แน่ชัดเป็นของตนเอง(หรือหมายถึงการไม่มีฐานคิด/แกนคิดที่แน่ชัดก็คือฐานคิดของกลุ่มนี้นั้นเอง) ลัทธินี้คือ แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism)ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในวงการสังคมศาสตร์ปัจจุบัน
     วาทกรรมไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากสิ่งซึ่งถูกอธิบายให้เป็นศาสตร์ด้วยวาทะ/ภาษาทางวิชาการทั้งที่จริงๆแล้ววาทกรรมไม่ใช่สิ่งอื่นใดเลยนอกจากปรากฏการณ์/พลวัตรของสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง วาทกรรมไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์กันไปอย่างไม่สิ้นสุดเพราะเพียงแค่หาแกนการวิเคราะห์ที่ต้องการ(ซึ่งสำหรับมุสลิมแล้วย่อมหมายถึงหลักการศาสนา) แล้วหาข้อสรุปได้อย่างไม่ต้อง Post Modern

ว่าด้วย  Islamization
     Islamization หากจะแปลตามรากศัพท์แล้วหมายถึง การทำให้เป็นอิสลาม สำหรับในทางสังคมศาสตร์แล้ว   Islamization  เป็นการอธิบายถึงปรากฏการณ์ของการปรับอิสลามเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นสมัยใหม่ถือเป็นการกล่อมเกลาทางสังคมรูปแบบหนึ่ง (Socialization) ปรากฏการณ์ Islamization ที่ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ Islamization of Knowledge กล่าวคือ เป็นขบวนการที่พยายามจะขัดเกลาความรู้สมัยใหม่หรือความรู้แบบโลกวิถีให้อยู่ภายใต้กรอบและหลักการของอิสลาม ด้วยมาตรฐานการวัดความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องของความรู้ที่มนุษย์พยายามสร้างขึ้น เช่น โดยการทดลอง การสังเกต โดยการพิสูจน์ทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์ที่มีอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความจริง เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่สอดรับกับหลักการอิสลาม
      ขบวนการในการสังเคราะห์องความรู้ที่เป็น Islamization of Knowledge ตามที่ ศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอล อัลฟารุกี นักวิชาการแห่ง International Institute of Islamic Thought (IIIT). ผู้ซึ่งเริ่มใช้คำว่า Islamization of Knowledge ในงานวิชาการของท่าน ได้วิเคราะห์ขั้นตอนไว้ ดังนี้
1.การสร้างความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาการสมัยใหม่
2. การสำรวจสาขาวิชาการสมัยใหม่
3. การสร้างความเชี่ยวชาญในมรดกทางความรู้อิสลาม
4. การวิเคราะห์มรดกทางความรู้อิสลาม
5. การสร้างความเกี่ยวโยงระหว่างอิสลามกับสาขาวิชาสมัยใหม่
6. การประเมินค่าเชิงวิพากษ์ต่อวิชาการสมัยใหม่
7. การประเมินค่าเชิงวิพากษ์ต่อมรดกทางความรู้อิสลาม
8. การสำรวจปัญหาที่สำคัญของอุมมะห์อิสลาม
9. การสำรวจปัญหาของมนุษยชาติ
10. การวิเคราะห์และสังเคราะห์มรดกทางความรู้อิสลามกับวิชาการสมัยใหม่อย่างสร้างสรรค์
11. การสร้างวิชาความรู้ใหม่ภายใต้กรอบอิสลาม: ผลิตหนังสือแบบเรียน
12. การเผยแพร่องค์ความรู้
     จากแนวทางการสังเคราะห์ดังกล่าวของ ศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอล อัลฟารุกี จะเห็นว่ากระบวนการ Islamization of Knowledge เป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ในแบบอิสลามเชิงประจักษ์ (Emperical Islamic of Knowledge) ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นมรรควิธีการสร้างองค์ความรู้ที่วางอยู่บนหลักการอิสลาม ไม่มีประเด็นใดที่ขัดแย้งกับหลักการอิสลาม
     อย่างไรก็ตามในปัจจุบันวาทกรรม Islamization และ Islamization of Knowledge ถูกเข้าใจ/ตีความผิดๆไปต่างๆ ได้แก่การยกข้อมูลด้านเดียว/กล่าวเพียงหลักการอิสลามด้านเดียว แล้วสรุปว่าคืออิสลาม คือ Islamization of Knowledge ซึ่งหากจะใช้บรรทัดฐานของ ศาสตราจารย์ ดร.อิสมาแอล อัลฟารุกี เป็นมาตรวัดความเป็น Islamization of Knowledge ก็จะพบว่า ไม่เข้าเกณฑ์ตั้งแต่ข้อที่ 3 คือการสร้างความเชี่ยวชาญในมรดกทางความรู้อิสลาม เพราะการวิเคราะห์ใช้หลักการอิสลามเพียงบางส่วน/ด้านเดียวเท่านั่น อย่างไรก็ตามองค์ความรู้ในประเภทข้างต้นที่ผู้เขียนยกไปกำลังมีอิทธิพลต่อวงการวิชาการสังคมศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยอย่างมากจนอาจกล่าวได้ว่ากลายเป็นมายาคติของนักสังคมศาสตร์มุสลิมไปเลยก็ว่าได้ ซึ่งในประเด็นนี้ผู้เขียนขออภิปรายรายละเอียดในหัวข้อถัดไป                    .............................

 
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่  http://www.mureed.com/article/Asabikoon/Others/Islamization-Asabikoon.doc 






ทฤษฏีสัมพันธภาพและอะกีดะ

     ผู้เขียนเขียนบทความนี้ขึ้นมาเนื่องด้วยผู้เขียนมีโอกาสได้อ่านหนังสือ Fundamental of Tuaheed ของ ดร.บิลาล ฟิลลิปส์ ซึ่งแปลเป็นไทยโดย อบุล ลัยษ์  ในประเด็นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮในแง่ของ อัสมาอ์ วัศซีฟาต หรือในแง่ของพระนามซึ่งเป็นคุณลักษณะของพระองค์ ในหนังสือเล่มดังกล่าว ดร.บิลาล ฟิลลิปส์ ได้กล่าวเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องทฤษฏีสัมพันธภาพของ อัลเบิร์ต ไอส์สไตน์ นักฟิสิกส์เชื้อสายยิว ชาวเยอรมัน ซึ่ง ดร.บิลาล ฟิลิปส์ ได้อธิบายอย่างสั้นๆ แต่อย่างไรก็ตามเป็นการอธิบายที่เข้าใจง่ายโดยทั่วกัน
      อัลเบิร์ต ไอส์สไตน์ ได้แสดงให้เห็นถึงการสมมูลของมวลและพลังงาน  E=mc2  มวลและพลังงานสามารถแปลงกลับ
กันไปมา และมีบทบาทเทียบเท่ากัน (ตัวอย่างเช่น แรงโน้มถ่วงของแอปเปิลที่กำลังหล่น ส่วนหนึ่งเกิดจากพลังงานจลน์ของอนุภาคย่อยซึ่งประกอบเป็นแอปเปิลขึ้นมา) (ที่มา: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี) จากกฎดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสสารต่างๆยังคงอยู่เสมอ ไม่สลายหายไป เพียงแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น   ซึ่งจากหลักการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวได้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงกับ อัล กรุอาน ที่อัลลอฮกล่าวว่า
 ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมแตกดับ(อัรรอฮมาน:26)
จาก(สิ่งซึ่งถูกเชื่อว่าเป็น)กฎดังกล่าวนี้ หมายความว่านักวิทยาศาสตร์กำลังจะบอกว่าสสารทั้งมวลมีอยู่ดังเดิมและคงเดิมตามสภาพต่างๆกลับไปกลับมา กฎดังกล่าวกำลังจะบอกว่าไม่มีอัลลอฮ์  สสารไม่มีผู้สร้างไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ

อัลลอฮฺ คือผู้ทรงสร้างทุกสิ่ง และพระองค์เป็นผู้ทรงดูแลและคุ้มครองทุกสิ่ง(อัซซุมัร:62)
      จากข้อเขียนข้างต้นจุดยืนของชาวอะลิสซุนนะฮ์วัลยามาอะฮ์ คือการไม่ประปฏิเสธหลักการ E=mc2   เพียงแต่เชื่อว่า
นั้นเป็นการอธิบายกระบวนการของสสารภายใต้ทฤษฏีสัมพันธภาพ แต่อย่างไรก็ตามเรามีอะกีดะที่ว่า ทุกสิ่งต้องมีผู้สร้างคืออัลลอฮพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น และพระองค์ทรงมีอำนาจควบคุมทุกสิ่งให้เป็นไปตามประสงค์ของพระองค์(ซึ่งรวมทั้งกฎ E=mc2   ) และวันหนึ่งพระองค์จะทำลายทุกสิ่งลงตามความประสงค์ของพระองค์ 
    ส่วนวิธีการทำลายรูปสภาพต่างๆของสสารต่างๆนั้นไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะแสวงหากระบวนการ(หากไม่มีความสามารถ) แต่เราจะต้องเชื่อว่าทุกสสารจะถูกทำลายตามความประสงค์ของอัลลอฮ์




พระองค์ทรงให้กลางคืนคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางวัน และทรงให้กลางวันคาบเกี่ยวเข้าไปในกลางคืน  และทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์ (แก่มนุษย์) ทุกสิ่งโคจรไปตามวาระที่ได้กำหนดไว้ นั่นคือ อัลลอฮฺพระเจ้าของพวกเจ้า  อำนาจการปกครองทั้งมวลเป็นสิทธิ์ของพระองค์ และสิ่งที่พวกเจ้าวิงวอนขออื่นจากพระองค์นั้นพวกมันมิได้ครอบครองสิ่งใดแม้แต่เยื่อบางหุ้มเมล็ดอินทผลัม(อัลฟาฏิร: 13)



ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนแผ่นดินย่อมแตกดับ(อัรรอฮมาน:26)



และในการณ์นั้นมิใช่เป็นการยากแก่อัลลอฮฺเลย(อัลฟาฏิร:17)

โต้ ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) กรณีบทความ จดหมายวิวาทะระหว่างความรุนแรงกับสันติวิธี วิวาทะ บิน ลาเดน กับคานธี ทำไมจึงก่อการร้าย

بسم الله الرحمن الرحيم


จงสู้รบในทางของอัลลอฮฺเถิด บรรดาผู้ขายชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ด้วยปรโลก และผู้ใดสู้รบในทางของอัลลอฮฺ และเขาถูกฆ่าหรือได้รับชัยชนะเราจะให้รางวัลอันใหญ่หลวงแก่เรา-74-อันนิซาอ


บรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัฎ-ฎอฆูต ดังนั้นพวกเจ้าจงต่อสู้บรรดาสมุนของชัยฏอนเถิด แท้จริงอุบายของชัยฏอนนั้นเป็นสิ่งที่อ่อนแอ-76-อันนิซาอ


วิพากษ์ ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) กรณีบทความ  จดหมายวิวาทะระหว่างความรุนแรงกับสันติวิธี วิวาทะ บิน ลาเดน กับคานธี ทำไมจึงก่อการร้าย
ซาเล็ม อับดุลลอฮ
       ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) ศาสตราจารย์ปรัชญาการเมืองและสมาชิกสภาขุนนางอังกฤษผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับมหาตมะ คานธี 3 เล่ม  ได้เขียนบทความโดยใช้วิธีการสมมุติบุคลาธิษฐาน หรือสมมุติบุคคลสองคนสนทนา/วิวาทะระหว่างกันซึ่งในบทความนี้เป็นการสนทนาระหว่างคานธีและเชคอุซามะ บินลาเดน ในบทความนี้บุคคลทั้งสองเป็นภาพตัวแทนของสันติวิธีและการก่อการร้ายตามลำดับซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีการนำเสนอที่คลาดเคลื่อน/บิดเบือน การอ้างอย่างลอยๆและเนื้อหาส่วนใหญ่วางอยู่บนอัตตาของภิกขุ ปาเร็ค ที่เต็มไปด้วยอคติต่อเชคอุซามะ บินลาเด็นและเหล่าชุฮาดาอ ผู้เขียนจะวิพากษ์ตามลำดับประเด็นต่อไปนี้

วิพากษ์คำนำของภิกขุ ปาเร็ค
     คำนำเริ่มต้นด้วยการประณามเชคอุซามะ บินลาเด็น ว่าผู้ก่อเหตุการณ์ 9/11 และการก่อการในเมืองมาดริด และตั้งคำถามต่อเหล่าชุฮาดาอ ว่ากระทำการรุนแรงได้อย่างไร ในประเด็นนี้การอ้างว่า 9/11 เป็นการกระทำของเชคอุซามะ บินลาเด็นเป็นการอ้างอย่างลอยๆไม่มีหลักฐานประจักษ์ที่พิสูจน์ถึงข้อกล่าวหานี้ได้ นอกจากนี้เชคอุซามะ บินลาเด็น ยังเคยออกมาปฏิเสธว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 9/11 
ประเด็นที่สอง การตั้งคำถามกับการก่อความรุนแรง ในประเด็นนี้ขอตั้งคำถามกลับว่าหากใช้บรรทัดฐานที่ว่าการใช้ความรุนแรงไม่เป็นที่ยอมรับในทุกกรณี ภิกขุ ปาเร็คก็จำต้องตั้งคำถามกับการกระทำของเจว็ดอเมริกาและพันธมิตรที่ใช้ความรุนแรงกับมุสลิมด้วย ไม่ว่าจะกรณีคุกแห่งกวนตานาโม สงครามในอัฟกานิสถานหรืออิรัค หรือการใช้ความรุนแรงของอันธพาลอิสราเอล เป็นต้น ดังนั้นการตั้งคำถามเฉพาะกับเหล่าชุฮาดาอ ถือเป็นการปฏิบัติลิ้นสองแฉก (Double standard) อันน่ารังเกียจของภิกขุ ปาเร็ค
     ช่วงท้ายของคำนำ ภิกขุ ปาเร็ค ได้กล่าวถึงจุดประสงค์หนึ่งของงานชิ้นนี้ว่าเพื่อ  ทำความเข้าใจโลกทัศน์อันวิปริตผิดเพี้ยนซึ่งบันดาลใจบิน ลาเดน ให้ได้บ้างอย่างน้อยบางส่วน”  ประเด็นนี้ขอตั้งคำถามว่าความวิปริตผิดเพี้ยนหรือไม่มีมาตรฐานอะไรชี้วัด ถ้าอ้างเช่นนั้นผู้เขียนก็จะอ้างกลับว่า ตามอัตตาของผู้เขียน ภิกขุ ปาเร็ค เป็นผู้มืดบอดต่อสันติวิธีอย่างวิปริตผิดเพี้ยนและไม่ตระหนักถึงความจริงถึงประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติว่าถูกจารึกด้วยความขัดแย้งและสงครามตลอดมา ประเด็นนี้ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นถึงการวางอยู่บนอัตตาของภิกขุ ปาเร็ค แล้วสถาปนาอัตตาของตนเองว่าเป็นสัจธรรมว่าเป็นหลักสากลเพื่อไปพิพากษาผู้อื่น


วิพากษ์จดหมายสมมุติ จากเชคอุซามะถึงคานธี วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.2003
     จดหมายเริ่มต้นด้วยการสมมุติเหตุผลของเชคอุซามะในการต่อสู้ได้แก่ ชาวคริสเตียนผู้ริษยาแรงดึงดูดใจและรังเกียจอำนาจของอิสลามมาช้านาน ได้พยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือและบ่อนทำลายอิสลามโดยล้อเลียนความเชื่อ ป้ายสีบิดเบือนพระศาสดา และดำเนินสงครามศาสนาต่ออิสลาม”   โลกสมัยใหม่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศยุโรปอื่นๆ ก็เริ่มสร้างอุตสาหกรรมด้วยแรงกิเลสตัณหาแห่งความกระหายอำนาจและกระสันต์กำไร อันเป็นฐานรากของทุนนิยมและจักรวรรดินิยม พวกเขาเข้าพิชิตพื้นที่อันกว้างใหญ่ของโลกและเริ่มดันแปลงโฉมอาณานิคมให้เหมือนตน”  “ขณะเดียวกันเนื่องจากสังคมมุสลิมทั้งหลายเองก็ทรยศหลักศาสนาของตัว และเสื่อมทรามถดถอยลง จึงตกเป็นเหยื่อโดยง่าย ด้วยอาวุธอันเหนือกว่า อังกฤษและฝรั่งเศสปราบจักรวรรดิออตโตมันลงราบคาบ  หลังสงครามปี ค.ศ.1939-1945 พวกเขาก็ริบบ้านเกิดเมืองนอนไปจากชาวปาเลสไตน์ หยิบยื่นแผ่นดินผืนใหญ่ให้ชาวยิว และสร้างบ่อเกิดกลัดหนองแห่งความอยุติธรรมขึ้นในรูปประเทศอิสราเอล”  “ เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าแทนที่นานาประเทศยุโรปซึ่งอ่อนแอลงในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 มันยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไป และออกแบบจักรวรรดิของตัวเองที่แนบเนียนกว่าขึ้นมา ในนามของการป้องกันโลกตะวันตกไว้จากภัยคุกคามโซเวียต มันก่อตั้งและหนุนหลังระบอบหุ่นเชิดในหลายแห่งของโลก โดยเฉพาะในบรรดาสังคมมุสลิมแห่งตะวันออกกลาง เจ้าของน้ำมันซึ่งอเมริกาต้องอาศัยมาสร้างความเจริญรุ่งเรือง
     อเมริกากระทั่งยังลำเอียงเข้าข้างอิสราเอลกระเท่เร่กว่าพวกยุโรปด้วยซ้ำไป โดยทุ่มความช่วยเหลือต่างประเทศของตนจำนวนมากให้อิสราเอล ติดอาวุธอิสราเอลและยุยงส่งเสริมความมักใหญ่ใฝ่ขยายดินแดนของอิสราเอล ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาสำคัญตนผิดว่าไร้เทียมทาน และสำแดงความผยองลำพองออกมาอย่างเลิกเกรงใจใคร
     ทุกวันนี้สหรัฐอเมริกาปักใจเด็ดเดี่ยวจะเปลี่ยนโลกทั้งใบเป็นแบบอเมริกัน และปรับโครงสร้างทุกสังคมเสียใหม่ไปในแนวทางโลกวิสัย ทุนนิยม เสรีนิยมและบริโภคนิยม กองกำลังทหารอเมริกันตั้งประจำอยู่ใน 120 ประเทศและกดดันรัฐบาลประเทศเหล่านั้นให้ทำตามคำสั่งตน มันเข้าควบคุมบรรดาสถาบันเศรษฐกิจและการเมืองสำคัญระหว่างประเทศและใช้มันหาประโยชน์เข้าตัว ถ้าทำแบบนั้นไม่ได้ผล มันก็หันไปติดสินบนและขู่จะแฉโพยความลับเพื่อให้ได้ดั่งใจ และถ้านั้นยังล้มเหลวอีก มันก็จะดำเนินการตามลำพังโดยไม่นำพากฎหมายหรือสถาบันระหว่างประเทศใดๆ ไม่มีรัฐบาลใดจะพ้นเงื้อมมือมันไปได้
ผมมีเป้าหมาย 4 ประการคือ
1) ขับไล่ชาวอเมริกันออกจากสังคมมุสลิม

2) ทำลายอิสราเอลในฐานะรัฐต่างหากของชาวยิวลง แล้วสร้างประเทศปาเลสไตน์อันเสรี ที่ซึ่งชาวยิวอยู่ได้ในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง

3) ขับโค่นสมุนฉ้อฉลของอเมริกาในสังคมมุสลิมและปรับโครงสร้างสังคมเหล่านั้นเสียใหม่ตามหลักการอิสลามที่แท้จริง และประการสุดท้าย

4) ฟื้นฟูความรุ่งโรจน์แต่กาลก่อนของอิสลาม โดยผนึกชุมชนอิสลามทั้งมวล (umma) เข้าด้วยกันเป็นเอกภาพและประกันให้มุสลิมได้ปกครองประเทศมุสลิมแต่กาลก่อนเช่นปาเลสไตน์, บูคารา, เลบานอน, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, ชาด, เอริเทรีย, โซมาเลีย, ฟิลิปปินส์, พม่า, เยเมนใต้, ทัชเคนต์ และแอนดาลูเซีย
      ความรุนแรงเป็นหนทางเดียวที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ เพราะมันเป็นภาษาเดียวที่สหรัฐอเมริกาเข้าใจ ความรุนแรงของเราจำต้องอาศัยการก่อการร้ายเป็นฐาน เพราะชาวมุสลิมที่ด้อยอาวุธยุทธภัณฑ์ย่อมไม่อาจทัดเทียมแสนยานุภาพอเมริกันได้หากรบกันซึ่งหน้า ถึงแม้ความรุนแรงในการก่อการร้ายของเราจะพุ่งเป้าใส่ "สัญลักษณ์แห่งอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา" เป็นอันดับแรก แต่จะให้เราละเอียดลออละเมียดละไมเสียจนไม่โดนพลเรือนเลยก็คงไม่ได้ อย่าลืมว่าสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่เคยละเว้นพลเรือนเวลาทำสงครามกับเรา
     จากข้อเขียนข้างต้นแสดงให้เห็นว่าภิกขุ ปาเร็ค เข้าใจสภาพการณ์ทุกอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่คลาดเคลื่อน ได้แก่เรื่องจักรวรรดินิยมออตโตมัน กล่าวคือ ออตโตมันไม่ใช่จักรวรรดินิยมแต่ออตโตมันคือเป็นอาณาจักรคิลาฟะฮ มีคอลีฟะฮเป็นผู้ปกครองต่อเนื่องกันมาไม่ใช่จักรวรรดินิยมอย่างที่ ภิกขุ ปาเร็ค  นอกจากนี้เป้าหมายในการก่อการต่อสู้ของเชคอุซามะ 4 ประการที่ ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาผู้เขียนก็ไม่เห็นว่าจะขัดกับสิทธิตามธรรมชาติหรือหลักสากลตรงไหน กล่าวคือ สิทธิในการขับผู้รุกรานในนามของประชาธิปไตยเสรีนิยมออกจากดินแดนมาตุภูมิ สิทธิในการเรียกร้องดินแดนมาตุภูมิคืนจากรัฐผู้แย่งชิงอย่างอิสราเอล การสร้างอาณาจักรอุมมะฮอิสลามขึ้นมาแทนที่รัฐประชาชาติ(Nation-State)  แต่น่าสงสัยว่าทำไมภิกขุ ปาเร็ค จึงได้มืดบอดกับหลักธรรมชาติพื้นฐานดังกล่าว
วิพากษ์จดหมายตอบของคานธี (ส่วนแรก)  1 พฤศจิกายน ค.ศ.2003
     จดหมายเริ่มต้นด้วยการกล่าวโจมตีเชคอุซามะ ฉันเห็นว่าเธอใช้เหตุผลวิปริตผิดเพี้ยน และการสดุดีความรุนแรงของเธอนั้นช่างน่าทุเรศสิ้นดี”  ประเด็นนี้ผู้เขียนได้วิพากษ์เรื่องการให้เห็นผลวิปริตผิดเพี้ยนไปแล้วในประเด็นก่อนหน้านี้ว่าเป็นการอ้างอย่างลอยและอยู่บนบรรทัดฐานแห่งอัตตาของตนเอง
     “เธอกล่าวโจมตีจักรวรรดินิยมยุโรปก็เพราะมันทำให้จักรวรรดินิยมของเธอสิ้นสุด และเธอกล่าวโจมตีชาวอเมริกันก็เพราะพวกเขาขัดขวางไม่ให้เธอฟื้นฟูจักรวรรดินิยมของเธอขึ้นมาใหม่ ในฐานที่เธอเองก็เป็นนักจักรวรรดินิยม เธอจึงไม่มีสิทธิทางศีลธรรมใดๆ ที่จะกล่าวโจมตีแผนการจักรวรรดินิยมของคนอื่น”   ในประเด็นนี้ต่อเนื่องจากข้อชี้แจงเรื่องจักรวรรดินิยมซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง อย่างไรก็ตามหากถือว่าสิ่งซึ่งเชคอุซามะปกป้องอยู่คือจักรวรรดินิยม(แห่งอุมมะฮ)อย่างนี้ภิกขุ ปาเร็ค กล่าวจริงและหากความเป็นจักรวรรดินิยมคือความไม่ชอบธรรม ภิกขุ ปาเร็คก็จำต้องมีมาตรฐานเช่นเดียวกันกล่าวคือต้องแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของจักรวรรดินิยมอเมริกาด้วย การอ้างเช่นนี้จึงเป็นการอ้างอย่างลิ้นสองแฉกเหมือนเดิม
     “เธอพร่ำพูดเรื่องสังคมอิสลามที่แท้จริง ซึ่งเธออยากจะรื้อฟื้นความรุ่งเรืองของมันขึ้นมา พูดตรงๆ นะว่าฉันไม่เห็นมันจะดึงดูดใจฉันหรือเพื่อนชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของเธอตรงไหนเลย เธอต้องการจะผสมผสานรัฐรวมศูนย์ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมและอาวุธนิวเคลียร์ เข้ากับค่านิยมและการปฏิบัติแบบอิสลามชุดหนึ่ง นี่เป็นโครงงานใหญ่ที่ลักลั่นแยกแย้งกันเอง เพราะลงเธอเลือกรับเอาสถาบันทางเศรษฐกิจ การเมืองและอื่นๆ แห่งความทันสมัยแล้ว เธอไม่มีทางหนีตรรกะของมันไปพ้น”   ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่าภิกขุ ปาเร็ค อ้างมาลอยๆ ว่ามุสลิมส่วนใหญ่ไม่มีความสนใจที่จะรื้อฟื้นอาณาจักรคิลาฟะฮขึ้นมา โดยไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆมายืนยันถึงการกล่าวอ้างของตนเองเลย นอกจากนี้ภิกขุ ปาเร็ค ยังมีความเข้าใจอีกว่ารัฐคิลาฟะฮต้องเป็นรัฐที่ปฏิเสธความทันสมัยหรือการทำให้ทันสมัย กล่าวคือภิกขุ ปาเร็คคงเข้าใจว่ารัฐคิลาฟะฮ ต้องเป็นรัฐจารีตอย่างที่นักวิชาการตะวันตกมักเข้าใจกันซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น กล่าวคือรัฐคิลาฟะฮต้องสนับสนุนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของอุมมะฮ โดยอยู่บนเงื่อนไขของชาริอะฮนั่นเองหาใช่การปฏิเสธการพัฒนาอย่างที่ภิกขุ ปาเร็ค เข้าใจไม่
     “ ก็อย่างที่เธอยอมรับนั่นแหละ สังคมมุสลิมได้เสื่อมถอยลง แต่คำอธิบายของเธอเรื่องนี้ผิดถนัด สังคมมุสลิมเสื่อมถอยก็เพราะมันหยุดนิ่ง เหลื่อมล้ำ ถือหลักผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และขาดจิตวิญญาณของการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ เสรีภาพของปัจเจกบุคคลและสมรรถนะที่จะปฏิบัติการแบบรวมหมู่และร่วมมือ ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้เราต้องเรียนรู้จากโลกตะวันตกอีกมาก”  ในประเด็นนี้ภิกขุ ปาเร็ค ก็อ้างอย่างลอยๆเหมือนเดิมโดยไม่ได้ยกหลักฐานที่ว่าอิสลามสอนให้มุสลิมหยุดนิ่ง เหลื่อมล้ำหรือมีชนชั้น ถือหลักผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง อย่างไร คำตอบคือไม่มี แต่ที่มุสลิมตกต่ำ เหลื่อมล้ำ เฉื่อยชาที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเกิดจากความขลาดกลัวและหน่อมแน่มของมุสลิมเองไม่ใช่จากคำสอนของอิสลาม
     “ตัวฉันเองก็เป็นนักเรียนที่สำนึกคุณของโลกตะวันตก ได้เรียนรู้มากจากประเพณีแบบเสรีนิยม คริสเตียนและสังคมนิยมของเขา และประสานมันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิตและวิธีคิดของอินเดียอย่างเหมาะสม การแบ่งโลกอย่างหยาบๆ ออกเป็นตะวันตกกับตะวันออกไม่ช่วยอะไร เพราะมันทำให้แต่ละข้างแต่ละฝ่ายเป็นแบบเดียวกันเกินไป และขัดขวางการเสวนาที่อำนวยประโยชน์แก่กันและกัน”  ในประเด็นนี้ผู้เขียนขอวิพากษ์สั้นๆว่าคุณจะยึดอะไรเป็นสรณะนั้นเป็นเรื่องของคุณเป็นความเชื่อของคุณเป็นการตัดสินใจของคุณ แต่จะนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานสากลย่อมไม่สมเหตุสมผล (for you not me.)
     “เธอบอกว่าโลกตะวันตกนั้นกลวงเปล่าทางจิตวิญญาณ และเรียกพลเมืองของเขาว่าพวกนอกศาสนา ความจริงแล้วถึงแม้โลกตะวันตกจะนิยมบริโภคและนิยมทหาร แต่พลเมืองของเขาจำนวนมากก็มีมโนธรรมสำนึกทางสังคมแข็งแรง ความห่วงใยคนยากจนเอย รัฐสวัสดิการเอย ความปรารถนาจะสร้างสังคมที่เป็นธรรมเอย และการกดดันเรียกร้องความยุติธรรมระดับโลก และการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรมเอย ทั้งหลายทั้งปวงที่เอ่ยมาล้วนเป็นตัวอย่างของการนี้“  ในประเด็นนี้ผู้เขียนไม่ปฏิเสธความจริงดังกล่าวที่ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาแต่ตั้งข้อสังเกตว่าการให้เหตุผลดังการเป็นการให้เหตุผลที่มืดบอดต่อความจริงของการเมือง ผู้เขียนไม่คาดคิดว่าศาสตราจารย์ปรัชญาการเมืองจะมืดบอดในประเด็นดังกล่าวได้ถึงเพียงนี้ กล่าวคือที่ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาเป็นโครงสร้างส่วนล่างทางการเมืองทั้งหมด แต่สิ่งซึ่งภิกขุ ปาเร็ค ไม่ได้กล่าวถึงคือโครงสร้างส่วนบนทางการเมือง เช่นรัฐบาล กฏหมาย นโยบายระหว่างประเทศว่าเป็นเช่นไร ต่อให้โครงสร้างส่วนล่างดีแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์หากโครงสร้างส่วนบนเต็มไปด้วยแนวคิดเรื่องอำนาจและการรุกรานอย่างไร้เหตุผล
     “ดูเธอจะเชื่อว่าศาสนาอิสลามนั้นสมบูรณ์แบบ แต่ศาสนาทั้งปวงก็ล้วนมีทั้งสัจธรรมและความผิดพลาดด้วยกันทั้งสิ้น”   ในประเด็นผู้เขียนขอวิพากษ์สั้นๆว่าตามตรรกะแล้วเป็นไปไม่ได้ที่สัจธรรมจะมีมากว่าหนึ่งหรือความจริงสองชุดอย่างที่เป็นวาทกรรมอยู่ในปัจจุบัน
     “และเมื่อเธอร้องขอให้รัฐอิสลามยัดเยียดหลักการเหล่านี้แก่คนในบังคับของตน ก็เท่ากับเธอปฏิเสธไม่ให้เสรีภาพทางศาสนาขั้นพื้นฐานแก่พวกเขา นี่ย่อมเป็นหนทางที่แน่ใจได้ที่สุดเลยว่า มันจะทำให้ทั้งศาสนาของเธอและรัฐนั้นเสื่อมทรามลง และยังจะยับยั้งความเจริญงอกงามทางศีลธรรมและจิตวิญญาณของประชาชนของเธออีกด้วยประเด็นนี้เป็นการให้ร้ายต่อประวัติศาสตร์อิสลามอย่างไม่น่าให้อภัยของภิกขุ ปาเร็ค เพราะรัฐคิลาฟะฮไม่ได้หมายความว่าพลเมืองทุกคนต้องเป็นมุสลิม กล่าวคือรัฐคิลาฟะฮให้สิทธิอย่างเต็มที่กับพลเมืองที่จะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ตนเองศรัทธา นอกจากนี้หลักการอิสลามก็ห้ามเด็ดขาดในเรื่องการบังคับให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
     “เธอโทษชาวยุโรปหรืออเมริกันว่าเป็นเหตุแห่งสภาพลำบากยากแค้นอันน่าสังเวชของเธอ แต่เธอไม่เคยโทษอิสลามเลย  นี้เป็นการให้ร้ายอิสลามอีกครั้งหนึ่งภิกขุ ปาเร็ค กล่าวคือเป็นการอ้างอย่างลอยๆว่าหลักการอิสลามเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มุสลิมตกต่ำโดยไม่ได้ระบุว่าหลักการอิสลามข้อไหนที่มีส่วนทำให้มุสลิมตกต่ำ อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับความจริงว่าในปัจจุบันอุมมะฮอิสลามอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ แต่ต้องตระหนักว่าสาเหตุของความตกต่ำของอุมมะฮไม่ใช่เพราะหลักคำสอนของอิสลามแต่เป็นเพราะความหน่อมแน่มและขลาดกลัวของมุสลิมเอง
     “ทำนองเดียวกับที่ร่างกายคนเราย่อมไม่เพลี่ยงพล้ำแก่โรคภัยไข้เจ็บ เว้นแต่มันได้สูญเสียคุณสมบัติในการฟื้นฟูตัวเองขึ้นใหม่ไป เธอควรจะหยุดโทษว่าคนอื่นเสียที แล้วรวมศูนย์พลังงานของเธอไปฟื้นฟูบูรณะและกระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคมของเธอด้วยการให้การศึกษาและจัดตั้งมวลชน”  ในประเด็นนี้เป็นการใช้มาตรฐานความคิดของตนเองแล้วไปพิพากษาผู้อื่นว่าต้องปฏิบัติตามสิ่งซึ่งตนเองเชื่อ สิ่งนี้เป็นการบังคับอันร้ายแรงเพราะเป็นการบังคับทางความคิด/ทัศนะซึ่งมีอำนาจมากกว่าการบังคับด้วยกำลัง อย่างไรก็ตามสิ่งซึ่งภิกขุ ปาเร็ค กล่าวดูเหมือนว่าเชคอุซามะไม่ได้สร้างมวลชน ไม่ได้กระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคม ในประเด็นนี้ผู้เขียนขอโต้ว่า การต่อสู้เพื่อสร้างรัฐคิลาฟะฮบนหน้าแผ่นดินอีกครั้งนั่นคือการกระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคม ให้กับอุมมะฮมุสลิมอีกครั้งหนึ่ง
     “เธอพูดถูกที่ว่าผู้ปกครองมุสลิมจำนวนมากเป็นแค่สมุนรับใช้ฉ้อฉลของมหาอำนาจภายนอก แต่เธอลืมไปว่าผู้ปกครองของเราไม่ใช่เผ่าพันธุ์ต่างดาว หากเป็นเงาขยายใหญ่ของตัวเองเอง เราสร้างพวกเขาขึ้นมาตามรูปโฉมของเรา และฉะนั้นเราจึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาเป็นและทำด้วย
โอซามา เธอเป็นผู้ไม่มีขันติ ไม่มีแผนบูรณะฟื้นฟูสังคมขึ้นใหม่ และไม่ปรารถนาจะจัดการแก้ไขมูลเหตุเบื้องลึกแห่งความเสื่อมโทรมทางสังคม เธอคิดจะอาศัยกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางศาสนา ที่จัดตั้งกันกระชับแน่นไปเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ถ้าได้อำนาจมาเมื่อไหร่ พวกเขานั่นแหละก็จะเสื่อมทรามลง อหังการขึ้นและเผด็จการด้วยเหมือนกัน”  ในประเด็นนี้ผู้เขียนกล่าวในเรื่องผู้ปกครองก่อน กล่าวคือการที่ผู้ปกครอง/รัฐบาลมุสลิมต่างๆเป็นแค่สมุนรับใช้ฉ้อฉลของมหาอำนาจภายนอก ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของอัลลอฮในการปกครองนั้นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองผู้นั้นที่จะต้องตอบคำถามของอัลลอฮในวันพิพากษา
      ประเด็นต่อมาคือภิกขุ ปาเร็ค กล่าวอย่างลอยๆอีกว่าหากมุจาฮิดีนประสบความสำเร็จในการสร้างรัฐคิลาฟะฮขึ้นมาได้ ในท้ายที่สุดก็ย่อมเกิดการเผด็จการ สังคมเสื่อมทรามลงและบ้าอำนาจ ทั้งหมดเป็นการกล่าวอย่างไม่มีข้อพิสูจน์และเต็มไปด้วยอคติ กรณีตัวอย่าง หากผู้เขียนกล่าวว่าในขณะที่อินเดียได้รับเอกราชซึ่งผู้นำในการเรียกร้องคือคานธี และหากคานธีขึ้นปกครองประเทศแน่นอนว่าจะเกิดการสู้รบทางศาสนา เกิดการกดขี่ศาสนาชายขอบ เกิดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ และสุดท้ายอินเดียจะต้องล่มสหาย ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เขียนต้องการเปรียบเทียบให้เห็นถึงการกล่าวอย่างอคติและไม่มีหลักฐานพิสูจน์ใดๆเลยของภิกขุ ปาเร็ค
     “ขณะที่เธอกล่าวโจมตีชาวอเมริกันซ้ำซาก เธอก็ว่าร้ายชาวยิวไม่ขาดปากด้วย และมักจะแสดงแนวคิดความรู้สึกที่ไม่เพียงแต่ต่อต้านรัฐของชาวยิวเท่านั้น แต่ยังต่อต้านเผ่าพันธุ์ยิวอย่างก้าวร้าวอีกต่างหาก ฉันไม่เห็นด้วยกับเธอเลยแม้สักนิด ฉันไม่เหมือนเธอตรงที่ฉันเคยอยู่และทำงานร่วมกับชาวยิวมา ชื่นชมคุณสมบัติทางภูมิปัญญาและศีลธรรมของพวกเขา และรู้จักตัวตนและประวัติศาสตร์ของพวกเขาเป็นอย่างดี
     ประเด็นนี้ผู้เขียนขอชี้แจงว่าอิสลามไม่ยอมรับการสังหารพลเรือนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวกับสงครามในทุกกรณีส่วนการที่เชคอุซามะเคยฟัตวาให้ความชอบธรรมในการสังหารพลเรือนอเมริกันด้วยเหตุผลที่ว่าชาวอเมริกันต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำของรัฐบาลของพวกเขานั้น ในประเด็นนี้ต้องวางอยู่บนหลักการศาสนากล่าวคือ ฟัตวาดังกล่าวของเชคอุซามะย่อมไม่เป็นที่ยอมรับได้ดังนั้นจึงเป็นเพียงทัศนะส่วนตัว(ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดได้)ไม่ใช่หลักการอิสลาม
     ประเด็นที่สอง ในเรื่องชาวยิวนั้นภิกขุ ปาเร็ค กล่าวเสมือนว่าอิสลามมีความชิงชังต่อชาวยิว ซึ่งการกระทำเป็นลักษณะชาติพันธุ์นิยมทั้งที่ในความจริงแล้วอิสลามปฏิเสธและไม่ยอมรับหลักการดังกล่าวเด็ดขาด แต่ยิวและรัฐอิสราเอลที่มุจาฮิดีนต่อต้านนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาไม่ยุติธรรมต่ออุมมะฮอิสลามในกรณีการสร้างรัฐอิสราเอลดังนั้นการต่อต้านดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ที่การเป็นศาสนายูดายหรือการเป็นชาติพันธุ์ยิวแต่อยู่ที่การอยุติธรรมต่างหาก กล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือหากรัฐอิสราเอลไม่ใช่ชาติพันธุ์ยิวแต่เป็นชาติพันธ์ใดๆก็ตาม หากมีพฤติกรรมอันอยุติธรรมดังกล่าวเราก็ต้องต่อต้าน
      ฉันรู้ดีว่าเหยื่อของเมื่อวานอาจกลายเป็นผู้กดขี่พรุ่งนี้ได้ง่ายๆ แล้วก็หันไปใช้ทุกข์ทรมานในอดีตของตนเป็นข้ออ้าง หรือแม้แต่ความชอบธรรมให้แก่การปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างทารุณโหดร้าย หลายปีหลังนี้อิสราเอลได้ประพฤติตนอย่างอยุติธรรมโดยสหรัฐอเมริกาคอยสนับสนุน พฤติกรรมที่ผิดของอิสราเอลจักต้องถูกท้าทาย แต่เธอไม่พึงแข็งกระด้างเฉยชาต่อผลที่ความทุกข์ทรมานในอดีตมีต่อชาวยิว
เป็นธรรมดาอยู่เองที่พวกเขาจะถูกหลอนใจจากความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันขมขื่น รู้สึกจิตใจไม่มั่นคงอย่างลึกซึ้ง และบางครั้งแม้แต่จะวางใจคนนอกผู้ปรารถนาดีก็ยังยากเลย ในที่สุดพวกเขาก็พบบ้านและก็พอจะเข้าใจได้ว่า พวกเขาย่อมรู้สึกหวงแหนมันอย่างแรงกล้า ปัญหาอยู่ตรงบ้านใหม่ของพวกเขากลับไปทำให้ชาวปาเลสไตน์ไร้บ้าน และยังความทุกข์ทรมานแสนสาหัสแก่ชาวปาเลสไตน์
เราต้องหาทางให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ฉันเองกระตือรือร้นสนใจแนวคิดที่จะให้มีหนึ่งรัฐสองชาติ (bi-national state) สำหรับทั้งยิวและอาหรับแบบเดียวกับที่ฉันอยากให้มีประเทศอินเดียที่เป็นเอกภาพเหมือนกัน แต่ถึงฉันจะพยายามหยุดยั้งมันอย่างใด ในที่สุดอินเดียก็ถูกแยกประเทศ ฉันยอมรับมันด้วยหวังว่า เมื่อสองพี่น้องที่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่างคนต่างแยกย้ายไปตั้งบ้านของตัวเองต่างหากจากกัน และได้ระบายถ่ายเทความเป็นอริออกจากตัว แล้วพวกเขาจะไม่เพียงแต่อยู่ร่วมกันอย่างสันติเท่านั้น แต่บางทียังอาจจะกระทั่งฟื้นฟูสายสัมพันธ์อันหยั่งลึกใหม่ และใกล้ชิดสนิทสนมกันขึ้นด้วย.........



ติดตามรายละเอียดบทความเต็มพร้อมเชิงอรรถได้ที่   
 http://www.4shared.com/document/vISJDQ6E/_online.html

จดหมายถึง ดร.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ กรณีบทความอิสลามเเละประชาธิปไตย‏

 
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปราณี
                                                                                                        กลุ่มอัซซาบิกูน www.อิสลาม.net  
                                                                                                           Baitulansar.info/antirafidah.com


6 มกราคม 2554



เรียน อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
    
     ก่อนอื่นผมต้องเรียนว่าในฐานะนักศึกษาสังคมศาสตร์ผมมีความชื่นชมต่อบทบาทของอาจารย์เสมอมาทั้งบทบาททางวิชาการผ่านผลงานวิชาการทั้งงานเขยี นและงานแปลมากมายและบทบาทในการเคล่อืนไหวทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทการเคล่อืนไหวเพ่อื ความยุติธรรมในสังคมในเหตุการณ์ตลอดป 2553 ที่ผ่านมา
    
     ผมในฐานะมุสลิมขอขอบคุณอาจารย์ในความพยายามนำเสนอมุมมองใหม่ที่มีต่อศาสนาอิสลามใน
บทความ อิสลามและประชาธิปไตย ซึ่งเป็นมุมมองที่เป็นแง่บวกต่อศาสนาอิสลามซึ่งเห็นว่าเป็นงานกระแสรองในวงการสังคมศาสตร์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผมเห็นว่าในงานชิ้นดังกล่าวของอาจารย์มีความเข้าใจผิดหลายประการซึ่งผมจะชี้แจง ดังต่อไปนี้

1. ประเด็นในการบรรยายของ Anthony Giddens แห่ง London School of Economics ผมขอ
ชี้แจงว่าในมุมมองของอิสลามศาสนาแยกออกต่างหากจากวัฒนธรรมแง่มุมต่างๆทางศาสนาต้อง
ไมม่ กี ารพลวัตรเปล่ยีนแปลงจากหลกั คำสอนของอัลลอฮผา่ นท่านศาสดามฮุ ัมมดั (ขอความสนั ติมี
แด่ท่าน) เนื่องด้วยมุสลิมมีความเชื่อในวันพิพากษาว่าการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆจะถูกยอมรับก็
ต่อเม่อื ปฏิบัติ ปฏิบัติตามแนวทางซึ่งศาสดามฮุ ัมมดั (ขอความสนั ติมแี ดท่ ่าน) ได้สอนเอาไว้เท่านั่น
ดังนั้นประเด็นที่เป็นประเด็นหลักการศาสนาจึงต้องไม่มีการพลวัตรใดๆ

2. ประเด็นซึ่งมีความเขา้ ใจว่าอิสลามขึ้น อยู่กับการตีความ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้อิสลามมีความ
หลากหลาย ประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นซึ่งเป็นความเข้าใจผิดพลาดอย่างมากในวงการสังคมศาสตร์
ซึ่งศึกษาอิสลาม จนถือได้ว่าเป็นมายาคติของวงการสังคมศาสตร์อิสลามเลยก็ว่าได้ ประเด็นนี้
ผ้เูขยี นขอชี้แจงว่าศาสนาอิสลามอนุญาตให้ตีความเฉพาะในประเด็นที่มีหลักฐานตัวบทซึ่งต่าง
สนับสนุนทั้งสองแนวคิด(ภาษาเทคนิคเรียกว่า กรณีคิลาฟียะฮ ตัวอย่างกรณีนี้ได้แก่การปิดหน้า
ของสุภาพสตรีกล่าวคืออนุญาตให้ปิดหรือไม่ปิดก็ได้) ซึ่งในกรณีดังกล่าวเป็นกรณีปลีกย่อยและพบ
ได้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ในสุภาพสตรีบทบัญญัติของศาสนาอิสลามเป็นบทบัญญัติตรงๆซึ่งไม่
มีความจำเป็นต้องตีความเช่น การคลุมฮิญาบ การห้ามดอกเบี้ย เป็นต้น ส่วนหากจะมีนักวิชาการ
มุสลิมคนใดที่ตีความประเด็นเหล่านี้นอกเหนือออกไปไม่สามารถยอมรับได้ เช่นการตีความว่า
บทบัญญัติฮิญาบไม่ได้ถูกกำหนดแก่ประชาชาติอิสลาม การตีความว่าชาวคริสเตียน ชาวยิวก็ถือ
ว่าเป็นผู้ศรัทธาในอัลลอฮเช่นกัน (โปรดดูรายละเอียดในเอกสารประบันทึกการสัมมนาวิชาการ
โลกของอิสลามและมุสลิมในอุษาคเนย์ ในหัวข้อ Islamization ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็น
บรรณาธิการ ) การตีความเช่นนั่นย่อมถือว่าไม่สามารถยอมรับได้ ดังนั้นหากจะกล่าวในแง่ของ
หลักการศาสนาที่เป็นหลักการจากตัวบทจริงๆจะพบว่าอิสลามแทบไม่มีความหลากหลายอยู่เลย
ที่เป็นมายาคติอยู่ในทุกวันนี้เป็นเพราะการตีความของนักวิชาการนอกนอกต่างๆ

3. ประเด็นความเห็นของ Ernest Gellner ทีว่าอิสลามแบบการกลับไปหารากฐานเดิมของหลักการ
อิสลามซึ่ง Ernest Gellner ใช้คำว่า Islamic Fundamentalism (ผมจะไม่ขออภิปรายถึงการใช้คำ
ว่า Islamic Fundamentalism เพราะส่วนตัวเห็นว่าการกลับไปหาหลักการอิสลามที่มาจาก
หลักฐาน/มลู ฐานเป็นสิ่งที่ดีซึ่งไมส่ าํ คัญว่าจะใช้คำว่าอะไร ) เป็นปรากฏการซึ่งเพ่งิเกิดข้นึ ในช่วง
หลังจากการรุกรานของชาติตะวันตกในคริสตศตวรรษที่ 18-20 เป็นต้นมา เป็นการให้ข้อมูล
ผดิ พลาดเพราะผ้ศู ึกษาประวัติศาสตรอ์ิสลามอย่างละเอียดจะพบขอ้เท็จจรงิ ที่เหมือนกันว่าบรรดา
ผ้เูรยี กร้องการกลบั ไปส่รูากฐาก(ซึ่งเรยี กวา่ กลับไปหาความเขา้ ใจและการปฏิบัตของชาวสลฟั ฟศุ
ซอและฮ) มมี าทุกยุคทุกสมัยหลังจากสิ้นสมัยชาวชาวสลฟั ฟศุซอและฮ(์ประมาณ 300 ปีหลังจาก
ส้นิ สมัยของศาสดามฮุ ัมมดั (ขอความสนั ติมแี ด่ท่าน)) อย่างไรก็ตามผมเขา้ ใจว่าการที่ Ernest
Gellner มคี วามเห็นเช่นนั้นอาจเป็นเพราะการเคล่อืนไหวดังกล่าวมคี วามชัดเจนมากในแง่ของการ
สามารถสรา้งรฐั ศาสนาข้นึ มาได้ เนื่องด้วยความรว่มมอืระหว่างตระกูลซาอูดกับผ้รู้ศู าสนาและใน
ที่สุดก็สามารถสร้างประเทศซาอุดีอารเบียในปี 1932 นั่นเอง

4. ประเด็นต่อมาของ Ernest Gellner ในเรื่อง ผ้นำศาสนาในแบบ living saints นี้เป็นความเข้า้ใจ
ผิดอีกประการหนึ่งเพราะอิสลามไม่มีระบบดังกล่าว ศาสนพิธีจะเป็นไปโดยตรงระหว่างมุสลิมกระ
เพ่อื แสดงความภักดีต่ออัลลอฮโดยตรงไมม่ ผี ้นู ำจิตวิญญาณ สว่ นผู้นำพธิ กี รรมเช่น อิมามนำ
ละหมาดเป็นเพียงผู้นำพิธีเท่านั่นไม่ใช่กรณี living saints

5. ประเด็นระบบการเมืองอิสลามซึ่งเรียกว่าระบบคิลาฟะโดยมีคอลีฟะฮเป็นผู้ปกครองนั้น ก่อนอื่นผม
ต้องเรียนก่อนว่าระบบการเมืองอิสลามตามที่นบีเคยสถาปนาขึ้น ณ นครมะดีนะฮ ์ถือเป็นโมเดล
ของรฐั คิลาฟะและไมม่ พี ้นื ที่ให้ระบบประชาธปิ ไตยและระบบการเมอื งอื่นใดทั้งส้นิ ดังนั้นอิสลามจึง
ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ทุกคนมีสิทธ์ในการเลือกองค์อธิปัตย์ อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงมิพักต้องกล่าวถึง
การเคล่อืนไหวภาคประชาสงัคม การเคล่อืนไหว NSM ในแงที่ตรงขา้มกับรฐั คิลาฟะฮเพราะการ
กระทำดังกล่าวถือเป็นการก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดินถือเป็นกบถต่อรัฐ


     อย่างไรก็ตามอาจารย์และหากใครก็ตามซึ่งอ่านประเด็นของผมข้างต้นอาจคิดว่าการเมือง
อิสลามเป็นการเมืองแห่งการเผด็จการ การมองเช่นนั่นเป็นการใช้มาตรฐานของตนเองแล้วไป
พพิ ากษาผ้อู ื่นเพราะชาวมสุ ลมิ ไมไ่ด้เชื่อเช่นนั่น เรามองว่านั่นเป็นระบบการเมอื งซึ่งอัลลอฮ์กำหนด
ว่าให้และเราเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจและปราศจากข้อสงสัยใดๆว่าคิลาฟะฮคือการปกครองที่ดีที่สุด
อย่างแน่นอน

6. ประเด็นความเห็นของ Fred Halliday ซึ่งอ้างว่ารัฐอิสลามในโลกสมัยใหม่มีความขัดแย้งกันเอง
ผมขอชี้แจงว่า รัฐซึ่ง Fred Halliday ได้อ้างไม่ใช่รัฐอิสลามแต่เป็นรัฐที่มีประชากรมุสลิมเป็น
ส่วนมากเพราะรัฐคิลาฟะไม่ใช่รัฐที่เป็น Nation state แต่เป็น Ummah State นอกจากนี้ตาม
หลักการอิสลามแล้วรัฐอิสลามและคอลีฟะฮจะไม่สามารถมีมากกว่าหนึ่งได้ในเวลาเดียวกันเพราะ
นี้คือคำส่งัจากท่านนบีว่าหากมีการต้งัคอลฟี ะฮซ้อนคอลฟี ะฮ์ให้ประหารคนที่สอง ดังนั้นตาม
หลักการแล้วจึงไม่สามารถมีรัฐอิสลามมากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกันได้

7. ประเด็นที่ Qamaruddin Khan ระบุว่าอัลกรุอานไม่ได้ระบุระบบการเมืองอิสลามใดๆไว้โดยตรงๆ
ดังนั้นจึงสามารถปกครองด้วยระบบใดก็ได้โดยสามารถให้มุสลิมดำรงอยู่ได้นั้น ประเด็นนี้ผมเห็น
ว่าเป็นการมองอิสลามแบบเอาเฉพาะอัลกรุอาน (มีพฤกติกรรมแบบพวกไม่เอาแบบอย่างนบี
เรียกว่าพวก กรุอานนียูน)เพราะแม้ว่าอัลกรุอานจะกำหนดหลักการปกครองอย่างกว้างๆก็จริงอยู่
เช่นการกำหนดกฎหมายอิสลามและบทลงโทษแต่มุสลิมนอกจากจะต้องปฏิบัติตามอัลกรุอานแล้ว
ยังต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบีเพราะเพราะแบบอย่างเหล่านั้นถือรูปแบบการอธิบายอัล
กรุอานอย่างเป็นรูปธรรมท่สีดุ เหตุผลที่ต้องดูแบบอย่างของท่านนบีเพราะว่าอัลกรอุ านบอก
เพียงแต่หลักการกว้างๆไม่ได้บรรจุไว้ซึ่งรายละเอียด(เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญและแบบอย่าง
ท่านนบีคือกฏหมายประกอบรฐั ธรรมนูญต่างๆ) ซึ่งไมใ่ช่แค่เร่อื งการปกครองเท่านั่นเร่อื งอื่นๆเช่น
การละหมาด การจ่ายซะกาต การแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ ก็ถูกระบุไว้อย่างกว้างๆเช่นกัน โดย
รายละเอียดของการปฏิบัติต้องดำเนินการผ่านแบบอย่างของท่านนบีซึ่งรวมทั้งรูปแบบของรัฐด้วย
เช่นกัน
จากข้อเขียนในจดหมายทั้งหมดผมมจีุดประสงคเ์พียงเพื่อ ชี้แจงให้ทราบว่าระบบการเมืองที่
อิสลามรับรองว่าเป็นระบบอิสลามตามแนวทางท่านนบีมีเพียงระบบเดียวเท่านั่นคือระบบคิลาฟะฮ์
ซึ่งท่านนบีและสหายผู้ทรงคุณธรรมของท่านทั้งสี่ได้แก่ ท่านอบูบักร ท่านอุมรั ท่านอุษมาน ท่านอะ
ลี ได้ปฏิบัติมาแล้วในอดีต


ด้วยมิตรภาพ
ซาเล็ม อับดุลลอฮ
กลุ่มอัซซาบิกูน

ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ


                        
ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ
          ซาเล็ม  อับดุลลอฮ
บทนำ
     สิ่งหนึ่งซึ่งอยู่คู่มหาวิทยาลัยต่างๆจนอาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ในทุกๆมหาวิทยาลัยก็ว่าได้ นั่นคือชมรมมุสลิม ชมรมซึ่งเป็นหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ในอดีตชมรมมุสลิมเคยเป็นแหล่งที่อยู่ของบรรดา Activist ทั้งหลายเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆของนักศึกษามุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องฮิญาบและสิทธิในการเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ขัดหรือหมิ่นแหม่ต่อการขัดหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมในอดีตมีบทบาทมากในการกำหนดกระแสสังคมมุสลิมซึ่งผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมในอดีตเป็นเฉกเช่นขบวนการนักศึกษาในสมัยเดียวกัน ต่างกันตรงที่เป้าหมายของการเรียกร้องเท่านั่น กล่าวคือ ชมรมมุสลิมมุ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมมุสลิมเท่านั่น ในขณะที่ขบวนการนักศึกษาดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองกระแสหลักหรือการเมืองในระบบ
     อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าสิ่งซึ่งผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นเป็นอดีตซึ่งน่าภาคภูมิใจของชมรมมุสลิมเท่านั่น  เช่นเดียวกับขบวนการนักศึกษากระแสหลักในปัจจุบันซึ่งมีสภาพไม่ต่างกัน กล่าวคือ มีเพียงอดีตซึ่งน่าภาคภูมิใจเท่านั่น ในฐานะ อดีตคนในชมรม  มันน่าแปลกใจมากที่ชมรมมุสลิมในปัจจุบันเหลือเพียงอดีตที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น ทั้งๆที่ในปัจจุบันทุกๆมหาวิทยาลัยมีชมรมมุสลิมอยู่ มีจำนวนนักศึกษามุสลิมเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี แต่บทบาทของชมรมกลับน้อยลงเมื่อเทียบกันในอดีต หรือว่าเป็นจริงดังคำกล่าวที่ว่า ชมรมมุสลิมได้ตายไปแล้ว
    
ชมรมมุสลิมภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม
    แนวคิดเรื่องภาพตัวแทน (Representative) เป็นกรอบแนวคิดหนึ่งทางสังคมศาสตร์ กล่าวคือ การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาพซึ่งใช้แทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นในแง่หนี่งๆซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะจำเพาะหรืออัตลักษณ์/เอกลักษณ์  บางครั้งสิ่งถูกแทนและสิ่งซึ่งทำหน้าที่แทนอาจไม่ใช่บุคคลหรือตัวบุคคลแต่เป็นลักษณะเด่นต่างๆ ซึ่งมีสถานะเป็นบุคลาธิษฐาน ยกตัวอย่างเช่น เชคอุซามะ บินลาดิน เป็นภาพตัวแทนของมุจาฮิดีน เป็นภาพตัวแทนของบุคคลซึ่งต่อสู้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ และเป็นภาพตัวแทนของการต่อสู้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ และสร้างความเป็นธรรมแก่มุสลิมผู้ถูกอธรรม (ขอพระองค์ทรงให้พวกเขาได้รับชัยชนะ) เป็นต้น
     กรอบแนวคิดเรื่องภาพตัวแทนเมื่อนำมาจับกับชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ในทัศนะของผู้เขียนแล้วเห็นว่าชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งหนุ่มสาวมุสลิมในช่วงเวลานั้น ในอดีตชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของการขับเคลื่อนสังคมมุสลิม เป็นชมรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยลมหายใจแห่งการปฏิรูปสังคม ทั้งที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชมรมมุสลิมในปัจจุบัน ดังนั้นในปัจจุบันจึงเกิดคำถามว่า ปัจจุบันชมรมมุสลิมตายไปแล้วจริงๆหรือ
     ผู้เขียนเคยอภิปรายประเด็นดังกล่าวกับสหายของผู้เขียนท่านหนึ่ง โดยผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมยังไม่ตายเพียงแต่ หมดไฟเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจุดเชื้อไฟขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้ชมรมมุสลิมมีพลังมีลมหายใจขึ้นมาอีกครั้งดังเช่นในอดีต การจุดเชื้อไฟในทัศนะของผู้เขียนคือการที่ชมรมมุสลิมต้องปฏิวัติตัวเอง (ปฏิวัติ (Revolution) มีความหมายแตกต่างกับปฏิรูป (Reforming) การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีอย่างฉับพลัน บางครั้งใช้คำว่าอภิวัฒน์ ส่วนการปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป) การปฏิวัติตัวเองคือการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบโครงสร้าง การทำงานและที่สำคัญที่สุดต้องเปลี่ยนแปลง ทัศนะคติของคนทำงานให้เป็นเอกภาพ กล่าวคือ ต่อจากนี้ไป ชมรมมุสลิมคือกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อสังคมอิสลามไม่ใช่แค่ในมหาวิทยาลัย  ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่สถานที่ซึ่งจะมีแต่การตัรบียะฮกันอย่างเดียวทั้งปี ชมรมมุสลิมต้องมีสิ่งซึ่งเรียกว่า Tao-heed of Action   ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่เวทีแสดงวิสัยทัศน์ ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่เวทีวิเคราะห์ SWOT  POSDCORB  อันน่าเบื่อในห้องแอร์เย็นฉ่ำและไม่มีแนวคิดใหม่อะไรเลย และสุดท้ายชมมุสลิมต้องไม่ใช่สถานที่หาคู่
     กลับมาที่กรอบแนวคิดภาพตัวแทน ชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม แต่ในปัจจุบันชมรมมุสลิมไม่ได้มีบทบาทอะไรเลย ในแง่ของการนำทางแห่งความคิดของหนุ่มสาว นำทางความคิดของสังคมมุสลิม ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัด กรณีการบุกเข้าไปกราดยิงชาวบ้านขณะที่กำลังละหมาดซุบฮีในมัสยิด อัล-ฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จังหวัดนราธิวาส  ผู้เขียนไม่เห็นมีชมรมมุสลิมมหาลัยไหนเลยที่จะ กล้าออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างตรงไปตรงมา เท่าที่เห็นก็เพียงแค่ว่า ขอเรียกร้องความเป็นยุติธรรม…. คำถามคือ อะไรคือความยุติธรรม อย่างไรคือความยุติธรรม แค่ไหนคือความยุติธรรม ? ตามหลักการแล้วไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่กระทำการอำมหิตนั้น มันผู้นั้นจะต้องถูกประหารให้ตายตกไปตามกัน ทำไมไม่มีชมรมมุสลิมแม้แต่ชมรมเดียวที่กล้าพอจะพูดความจริง พูดหลักการ เรียกร้องความยุติธรรมตามหลักการอย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนคงไม่ต้องกล่าวถึงการประกาศญิฮาด (ซึ่งถือเป็น Tao-heed of Action ที่สำคัญ) ขอแค่การกล้าเรียกร้องความจริงอย่างตรงไป ตรงมาตามหลักการศาสนาแค่นั้นเอง หากจะบอกว่าการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาหรือการมีตำแหน่งต่างๆในสังคม ทำให้ไม่สามารถพูดความจริงได้ด้วยเงื่อนไขอะไรก็แล้วแต่ ผู้เขียนเห็นว่าการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย หรือการมีสถานะ/ต่ำแหน่งอะไรก็ตามแต่ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้พูดความจริงไม่ได้ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เราต้อง หน่อมแน่มหากการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย หรือการมีสถานะ/ต่ำแหน่งอะไรก็ตามแต่ ทำให้พูดความจริงไม่ได้ ก็ไม่ต้องเป็นมันเลย หากการเรียกร้องเพื่อพี่น้องที่ถูกอธรรม หากการพูดความจริง เป็นผลทำให้ชมรมมุสลิมถูกยุบ ก็ขอให้กระทำอย่างแรกแล้วก็ยุบชมรม แล้วมอบหมายต่ออัลลอฮ เพราะการมีหรือไม่มีชมรมมุสลิมไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการทำงานศาสนา ในทางตรงกันข้าม หากมีชมรมแต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับสังคมโดยรวม มีแต่สร้างเงื่อนไขอันยุ่งยากมากมาย บางทีการไม่มีชมรมมุสลิมอาจเป็นสิ่งดีก็ได้
     ชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม ในขณะเดียวกันภาพตัวแทนของชมรมมุสลิมคือสิ่งซึ่งชมรมมุสลิมแสดงลักษณะ/อัตลักษณ์/ความเป็นไปของตัวเองออกมา ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าวารสารและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆของชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของชมรมที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนที่สุด หากจะเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติชมรมมุสลิมให้กลับมามีลมลมหายใจแห่งการขับเคลื่อนสังคมอีกครั้ง วารสารและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆของชมรมมุสลิมซึ่งเป็นภาพตัวแทนของชมรมคืออีกสิ่งซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง นับต่อจากนี้ไป วารสารชมรมมุสลิมต้องมีเนื้อหาในการชี้นำสังคมทุกแง่มุม ไม่เฉพาะแค่ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา ไม่เฉพาะแค่การย้ำให้ตั้งใจเรียนในมหาลัย ไม่เฉพาะแค่การนำเสนอความรักในอิสลาม(ของหนุ่มสาวมุสลิม)และกรณีศึกษา ต่อจากนี้ไป วารสารชมรมมุสลิมต้องมีเรื่องราวการต่อสู้ของบรรดามุจาฮิดีนผู้ประเสริฐ ต้องมีเรื่องราวของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐคิลาฟะฮ ต้องมีเรื่องราวการเมืองและความเป็นไปในโลกปัจจุบัน เป็นต้น ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้จะช่วยชี้นำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
     อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวลงไปในวารสารชมรมมุสลิมด้วยเหตุผลที่ว่า เนื้อหาหนักไปในเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่า ความหนักของเนื้อหาไม่ใช่เงื่อนไขว่าจะตีพิมพ์ลงในวารชมรมมุสลิมได้หรือไม่ และ ความหนักหรือไม่หนักของเนื้อหาไม่ใช่ข้อเท็จจริงแต่เป็นข้อคิดเห็น ไม่สามารถพิสูจญ์ในเชิงประจักษ์ได้ แต่หากจะอ้างต่อไปว่า หากตีพิมพ์ในหัวข้อดังกล่าวจะไม่มีคนอ่านหรือมีคนอ่านน้อย ผู้เขียนเห็นว่าคนจะอ่านน้อยหรืออ่านมากก็ไม่ใช่เงื่อนไขของการตีพิมพ์วารสารชมรมมุสลิม หากแต่เงื่อนไขคือพีพิมพ์แล้ว คนอ่าน(จะมากหรือน้อยก็ตาม) ได้อะไร สังคมเกิดอภิวัฒน์ขึ้นหรือไม่ต่างหาก เพราะรัฐคิลาฟะฮที่ทุกคนต่างถวิลหา ไม่เคยได้มาจากเรื่องราวของความรัก แต่ได้มาโดยการต่อสู้อันหนักหน่วงเท่านั้น

สรุป : สู่ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ(อีกครั้ง)
     มาตรฐานมุมมอง ที่ควรจะเป็น ของชมรมมุสลิมในมุมมองของผู้เขียนคือต้องเป็นชมรมที่มีบทบาทในการ ร่วมกันขับเคลื่อนและชี้นำสังคมมุสลิมได้ ต้องเป็นกระบอกเสียงให้แก่พี่น้องซึ่งถูกอธรรมในสังคม ชมรมมุสลิมต้องเป็นมากกว่าชมรมกระแสหลักทั่วไป เพราะชมรมมุสลิมคือชมรมของหนุ่มสาวผู้เชื่อมั่นในอัลลอฮ ผู้เชื่อมั่นจากก้นบึ้งของหัวใจว่าอิสลามสูงส่งและไม่มีอะไรสูงส่งเท่า ผู้เขียนขอเตือนตัวของผู้เขียนและพี่น้องนักศึกษาทุกคนว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทบทวนบทบาทของเรา ถึงเวลาที่เราจะต้องตระหนักได้แล้วว่าเรา หน่อมแน่มต่อไปอีกไม่ได้แล้ว โลกเปลี่ยนเรามามากแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปลี่ยนโลกบ้าง ขอจงร่วมกันคืนลมหายใจให้ชมรมมุสลิมอีกครั้ง ร่วมกันพิสูจน์ให้โลกเห็นอีกครั้งว่า มุสลิมทำได้ สิ่งซึ่งเราจะสูญเสียจากการปฏิวัติครั้งนี้มีเพียงโซ่ตรวนแห่งความอ่อนแอเท่านั้น
ปัจฉิมลิขิต : บทความชิ้นนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ทุกๆทัศนะในบทความล้วนเป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ทัศนะของกลุ่มอัซซาบิกูนแต่อย่างใดซึ่งแน่นอนว่าทัศนะของผู้เขียนแต่ละคนย่อมเป็นภาพตัวแทนของผู้เขียนคนนั้นๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันเพราะความแตกต่างทางความคิด ภูมิหลัง อุดมการณ์การทำงานนั่นเอง


ดูรายละเอียดบทความได้ที่ http://www.baitulansar.info/