วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ


                        
ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ
          ซาเล็ม  อับดุลลอฮ
บทนำ
     สิ่งหนึ่งซึ่งอยู่คู่มหาวิทยาลัยต่างๆจนอาจกล่าวได้ว่ามีอยู่ในทุกๆมหาวิทยาลัยก็ว่าได้ นั่นคือชมรมมุสลิม ชมรมซึ่งเป็นหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน ในอดีตชมรมมุสลิมเคยเป็นแหล่งที่อยู่ของบรรดา Activist ทั้งหลายเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆของนักศึกษามุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องฮิญาบและสิทธิในการเข้าร่วมและไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ขัดหรือหมิ่นแหม่ต่อการขัดหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมในอดีตมีบทบาทมากในการกำหนดกระแสสังคมมุสลิมซึ่งผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมในอดีตเป็นเฉกเช่นขบวนการนักศึกษาในสมัยเดียวกัน ต่างกันตรงที่เป้าหมายของการเรียกร้องเท่านั่น กล่าวคือ ชมรมมุสลิมมุ่งดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมมุสลิมเท่านั่น ในขณะที่ขบวนการนักศึกษาดำเนินการเคลื่อนไหวทางการเมืองกระแสหลักหรือการเมืองในระบบ
     อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าสิ่งซึ่งผู้เขียนกล่าวมาข้างต้นเป็นอดีตซึ่งน่าภาคภูมิใจของชมรมมุสลิมเท่านั่น  เช่นเดียวกับขบวนการนักศึกษากระแสหลักในปัจจุบันซึ่งมีสภาพไม่ต่างกัน กล่าวคือ มีเพียงอดีตซึ่งน่าภาคภูมิใจเท่านั่น ในฐานะ อดีตคนในชมรม  มันน่าแปลกใจมากที่ชมรมมุสลิมในปัจจุบันเหลือเพียงอดีตที่น่าภาคภูมิใจเท่านั้น ทั้งๆที่ในปัจจุบันทุกๆมหาวิทยาลัยมีชมรมมุสลิมอยู่ มีจำนวนนักศึกษามุสลิมเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี แต่บทบาทของชมรมกลับน้อยลงเมื่อเทียบกันในอดีต หรือว่าเป็นจริงดังคำกล่าวที่ว่า ชมรมมุสลิมได้ตายไปแล้ว
    
ชมรมมุสลิมภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม
    แนวคิดเรื่องภาพตัวแทน (Representative) เป็นกรอบแนวคิดหนึ่งทางสังคมศาสตร์ กล่าวคือ การที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาพซึ่งใช้แทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นในแง่หนี่งๆซึ่งจัดว่าเป็นลักษณะจำเพาะหรืออัตลักษณ์/เอกลักษณ์  บางครั้งสิ่งถูกแทนและสิ่งซึ่งทำหน้าที่แทนอาจไม่ใช่บุคคลหรือตัวบุคคลแต่เป็นลักษณะเด่นต่างๆ ซึ่งมีสถานะเป็นบุคลาธิษฐาน ยกตัวอย่างเช่น เชคอุซามะ บินลาดิน เป็นภาพตัวแทนของมุจาฮิดีน เป็นภาพตัวแทนของบุคคลซึ่งต่อสู้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ และเป็นภาพตัวแทนของการต่อสู้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ และสร้างความเป็นธรรมแก่มุสลิมผู้ถูกอธรรม (ขอพระองค์ทรงให้พวกเขาได้รับชัยชนะ) เป็นต้น
     กรอบแนวคิดเรื่องภาพตัวแทนเมื่อนำมาจับกับชมรมมุสลิมมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ในทัศนะของผู้เขียนแล้วเห็นว่าชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งหนุ่มสาวมุสลิมในช่วงเวลานั้น ในอดีตชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของการขับเคลื่อนสังคมมุสลิม เป็นชมรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยลมหายใจแห่งการปฏิรูปสังคม ทั้งที่มีจำนวนน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับชมรมมุสลิมในปัจจุบัน ดังนั้นในปัจจุบันจึงเกิดคำถามว่า ปัจจุบันชมรมมุสลิมตายไปแล้วจริงๆหรือ
     ผู้เขียนเคยอภิปรายประเด็นดังกล่าวกับสหายของผู้เขียนท่านหนึ่ง โดยผู้เขียนเห็นว่าชมรมมุสลิมยังไม่ตายเพียงแต่ หมดไฟเท่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจุดเชื้อไฟขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อให้ชมรมมุสลิมมีพลังมีลมหายใจขึ้นมาอีกครั้งดังเช่นในอดีต การจุดเชื้อไฟในทัศนะของผู้เขียนคือการที่ชมรมมุสลิมต้องปฏิวัติตัวเอง (ปฏิวัติ (Revolution) มีความหมายแตกต่างกับปฏิรูป (Reforming) การปฏิวัติคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีอย่างฉับพลัน บางครั้งใช้คำว่าอภิวัฒน์ ส่วนการปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป) การปฏิวัติตัวเองคือการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบโครงสร้าง การทำงานและที่สำคัญที่สุดต้องเปลี่ยนแปลง ทัศนะคติของคนทำงานให้เป็นเอกภาพ กล่าวคือ ต่อจากนี้ไป ชมรมมุสลิมคือกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อสังคมอิสลามไม่ใช่แค่ในมหาวิทยาลัย  ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่สถานที่ซึ่งจะมีแต่การตัรบียะฮกันอย่างเดียวทั้งปี ชมรมมุสลิมต้องมีสิ่งซึ่งเรียกว่า Tao-heed of Action   ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่เวทีแสดงวิสัยทัศน์ ชมรมมุสลิมต้องไม่ใช่เวทีวิเคราะห์ SWOT  POSDCORB  อันน่าเบื่อในห้องแอร์เย็นฉ่ำและไม่มีแนวคิดใหม่อะไรเลย และสุดท้ายชมมุสลิมต้องไม่ใช่สถานที่หาคู่
     กลับมาที่กรอบแนวคิดภาพตัวแทน ชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม แต่ในปัจจุบันชมรมมุสลิมไม่ได้มีบทบาทอะไรเลย ในแง่ของการนำทางแห่งความคิดของหนุ่มสาว นำทางความคิดของสังคมมุสลิม ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัด กรณีการบุกเข้าไปกราดยิงชาวบ้านขณะที่กำลังละหมาดซุบฮีในมัสยิด อัล-ฟุรกอน บ้านไอร์ปาแย จังหวัดนราธิวาส  ผู้เขียนไม่เห็นมีชมรมมุสลิมมหาลัยไหนเลยที่จะ กล้าออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างตรงไปตรงมา เท่าที่เห็นก็เพียงแค่ว่า ขอเรียกร้องความเป็นยุติธรรม…. คำถามคือ อะไรคือความยุติธรรม อย่างไรคือความยุติธรรม แค่ไหนคือความยุติธรรม ? ตามหลักการแล้วไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่กระทำการอำมหิตนั้น มันผู้นั้นจะต้องถูกประหารให้ตายตกไปตามกัน ทำไมไม่มีชมรมมุสลิมแม้แต่ชมรมเดียวที่กล้าพอจะพูดความจริง พูดหลักการ เรียกร้องความยุติธรรมตามหลักการอย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนคงไม่ต้องกล่าวถึงการประกาศญิฮาด (ซึ่งถือเป็น Tao-heed of Action ที่สำคัญ) ขอแค่การกล้าเรียกร้องความจริงอย่างตรงไป ตรงมาตามหลักการศาสนาแค่นั้นเอง หากจะบอกว่าการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย เป็นนักศึกษาหรือการมีตำแหน่งต่างๆในสังคม ทำให้ไม่สามารถพูดความจริงได้ด้วยเงื่อนไขอะไรก็แล้วแต่ ผู้เขียนเห็นว่าการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย หรือการมีสถานะ/ต่ำแหน่งอะไรก็ตามแต่ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้พูดความจริงไม่ได้ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขให้เราต้อง หน่อมแน่มหากการเป็นชมรม การเป็นองค์กรหนึ่งของมหาวิทยาลัย หรือการมีสถานะ/ต่ำแหน่งอะไรก็ตามแต่ ทำให้พูดความจริงไม่ได้ ก็ไม่ต้องเป็นมันเลย หากการเรียกร้องเพื่อพี่น้องที่ถูกอธรรม หากการพูดความจริง เป็นผลทำให้ชมรมมุสลิมถูกยุบ ก็ขอให้กระทำอย่างแรกแล้วก็ยุบชมรม แล้วมอบหมายต่ออัลลอฮ เพราะการมีหรือไม่มีชมรมมุสลิมไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการทำงานศาสนา ในทางตรงกันข้าม หากมีชมรมแต่ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับสังคมโดยรวม มีแต่สร้างเงื่อนไขอันยุ่งยากมากมาย บางทีการไม่มีชมรมมุสลิมอาจเป็นสิ่งดีก็ได้
     ชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของพลังแห่งปัญญาชนหนุ่มสาวมุสลิม ในขณะเดียวกันภาพตัวแทนของชมรมมุสลิมคือสิ่งซึ่งชมรมมุสลิมแสดงลักษณะ/อัตลักษณ์/ความเป็นไปของตัวเองออกมา ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าวารสารและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆของชมรมมุสลิมเป็นภาพตัวแทนของชมรมที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนที่สุด หากจะเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติชมรมมุสลิมให้กลับมามีลมลมหายใจแห่งการขับเคลื่อนสังคมอีกครั้ง วารสารและสิ่งตีพิมพ์ต่างๆของชมรมมุสลิมซึ่งเป็นภาพตัวแทนของชมรมคืออีกสิ่งซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง นับต่อจากนี้ไป วารสารชมรมมุสลิมต้องมีเนื้อหาในการชี้นำสังคมทุกแง่มุม ไม่เฉพาะแค่ชีวิตความเป็นอยู่ของนักศึกษา ไม่เฉพาะแค่การย้ำให้ตั้งใจเรียนในมหาลัย ไม่เฉพาะแค่การนำเสนอความรักในอิสลาม(ของหนุ่มสาวมุสลิม)และกรณีศึกษา ต่อจากนี้ไป วารสารชมรมมุสลิมต้องมีเรื่องราวการต่อสู้ของบรรดามุจาฮิดีนผู้ประเสริฐ ต้องมีเรื่องราวของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐคิลาฟะฮ ต้องมีเรื่องราวการเมืองและความเป็นไปในโลกปัจจุบัน เป็นต้น ผู้เขียนเชื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้จะช่วยชี้นำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
     อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาดังกล่าวลงไปในวารสารชมรมมุสลิมด้วยเหตุผลที่ว่า เนื้อหาหนักไปในเรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่า ความหนักของเนื้อหาไม่ใช่เงื่อนไขว่าจะตีพิมพ์ลงในวารชมรมมุสลิมได้หรือไม่ และ ความหนักหรือไม่หนักของเนื้อหาไม่ใช่ข้อเท็จจริงแต่เป็นข้อคิดเห็น ไม่สามารถพิสูจญ์ในเชิงประจักษ์ได้ แต่หากจะอ้างต่อไปว่า หากตีพิมพ์ในหัวข้อดังกล่าวจะไม่มีคนอ่านหรือมีคนอ่านน้อย ผู้เขียนเห็นว่าคนจะอ่านน้อยหรืออ่านมากก็ไม่ใช่เงื่อนไขของการตีพิมพ์วารสารชมรมมุสลิม หากแต่เงื่อนไขคือพีพิมพ์แล้ว คนอ่าน(จะมากหรือน้อยก็ตาม) ได้อะไร สังคมเกิดอภิวัฒน์ขึ้นหรือไม่ต่างหาก เพราะรัฐคิลาฟะฮที่ทุกคนต่างถวิลหา ไม่เคยได้มาจากเรื่องราวของความรัก แต่ได้มาโดยการต่อสู้อันหนักหน่วงเท่านั้น

สรุป : สู่ชมรมมุสลิมที่ยังมีลมหายใจ(อีกครั้ง)
     มาตรฐานมุมมอง ที่ควรจะเป็น ของชมรมมุสลิมในมุมมองของผู้เขียนคือต้องเป็นชมรมที่มีบทบาทในการ ร่วมกันขับเคลื่อนและชี้นำสังคมมุสลิมได้ ต้องเป็นกระบอกเสียงให้แก่พี่น้องซึ่งถูกอธรรมในสังคม ชมรมมุสลิมต้องเป็นมากกว่าชมรมกระแสหลักทั่วไป เพราะชมรมมุสลิมคือชมรมของหนุ่มสาวผู้เชื่อมั่นในอัลลอฮ ผู้เชื่อมั่นจากก้นบึ้งของหัวใจว่าอิสลามสูงส่งและไม่มีอะไรสูงส่งเท่า ผู้เขียนขอเตือนตัวของผู้เขียนและพี่น้องนักศึกษาทุกคนว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทบทวนบทบาทของเรา ถึงเวลาที่เราจะต้องตระหนักได้แล้วว่าเรา หน่อมแน่มต่อไปอีกไม่ได้แล้ว โลกเปลี่ยนเรามามากแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเปลี่ยนโลกบ้าง ขอจงร่วมกันคืนลมหายใจให้ชมรมมุสลิมอีกครั้ง ร่วมกันพิสูจน์ให้โลกเห็นอีกครั้งว่า มุสลิมทำได้ สิ่งซึ่งเราจะสูญเสียจากการปฏิวัติครั้งนี้มีเพียงโซ่ตรวนแห่งความอ่อนแอเท่านั้น
ปัจฉิมลิขิต : บทความชิ้นนี้ไม่ใช่บทความทางวิชาการ ทุกๆทัศนะในบทความล้วนเป็นทัศนะของผู้เขียนเท่านั้น ไม่ใช่ทัศนะของกลุ่มอัซซาบิกูนแต่อย่างใดซึ่งแน่นอนว่าทัศนะของผู้เขียนแต่ละคนย่อมเป็นภาพตัวแทนของผู้เขียนคนนั้นๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันเพราะความแตกต่างทางความคิด ภูมิหลัง อุดมการณ์การทำงานนั่นเอง


ดูรายละเอียดบทความได้ที่ http://www.baitulansar.info/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น