วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

หลักศรัทธาที่ถูกต้อง ภาค 1







คำนำผู้เรียบเรียง

     การสรรเสริญทั้งหมดเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวแห่งสากลโลก ชัยชนะย่อมเป็นของผู้ยำเกรงและไม่มีความเป็นศัตรูนอกจากกับบรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮ์
     ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ผู้เป็นรอซูลท่านสุดท้าย ขออัลลอฮ์ประทานความโปรดปรานแด่ท่าน วงศ์วานของท่าน สหายผู้ประเสริฐของท่าน ขออัลลอฮ์ประทานความโปรดปรานแก่บรรดามุจาฮิดีน ผู้ซึ่งเจริญรอยตามศาสดามุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในการต่อสู้เพื่อสถาปนากฎหมายของอัลลอฮ์ขึ่นมาบนหน้าแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนบรรดาผู้เจริญรอยตามท่านรอซูลด้วยดีตราบวันแห่งการพิพากษา
     แท้จริงอัลลอฮ์ได้ส่งศาสดามุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม มาพร้อมกับสัจธรรมของพระองค์เพื่อเป็นหลักการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติ เพื่อเป็นทางนำเพื่อเป็นความเมตตาแก่ผู้ใคร่ครวญและดำเนินวิถีตามที่อัลลอฮ์สั่งใช้
     ฉันได้เรียบเรียงหนังสือ กิตาบุตเตาฮีต ของเชคคุลอิสลามมุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ รอฮิมาฮุลลอฮ์ โดยถอดความจากภาษาอังกฤษของสำนักพิมพ์ดารุสสลาม แห่งเบอร์มิงแฮม อังกฤษ โดยฉันให้ชื่อภาษาไทยว่า หลักศรัทธาที่ถูกต้อง ซึ่งฉันว่าจะสร้างความเข้าใจแก่ผู้ต้องการศึกษาอกีดะฮ์แห่งอะลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
     ก่อนหน้านี้ได้มีหนังสือของสหายท่านหนึ่งคือ ชัรฟุดดีน อามิลี ได้ออกหนังสือ วะฮะบีย์ศึกษา : ฉบับไม่งมงาย ซึ่งได้กล่าวถึงการฟื้นฟูอิสลามของเชคอิบนุอับดุลวะฮาบ และโต้คำใส่ร้ายของพวกบิดอะฮ์และผู้เสียผลประโยชน์ต่างๆที่ได้กระทำต่อท่านเชคตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งฉันหวังอีกว่าหนังสือที่ฉันเรียบเรียงเล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจอกีดะฮ์ที่มีแบบฉบับจากกีตาบุลลลอฮ์และซุนนะฮ์ที่แท้จริงของท่านเชคอิบนุอับดุลวะฮาบมากยิ่งขึ้นและเลิกสนใจต่อคำครหาต่างๆ



     ฉันขอบคุณสหายชัรฟุดดีน ซึ่งคอยให้คำแนะนำในเรื่องที่ฉันยังไม่มีความชัดเจน อาจารย์ชะรีฟ วงศ์เสงี่ยม อมีรกลุ่มอัซซาบิกูน และสหายที่ไม่สามารถเอ่ยนามได้หมด ณ ที่นี้ทุกท่าน ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดี
    อนึ่ง หากมีความผิดพลาด นั้นย่อมเป็นความผิดพลาดของฉัน ฉันเป็นเพียงบ่าวผู้หนึ่งของอัลลอฮ์ มีขอบเขตข้อจำกัดแห่งความรู้ความสามารถ มีความอ่อนแอความบกพร่องเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชนทั่วไป ขออัลลอฮ์ชี้แนะในสิ่งที่บกพร่อง โอ้อัลลอฮ์ขอพระองค์อภัยในความผิดของบ่าว แท้จริงพระองค์คืออัลลอฮ์ ผู้กล่าวว่า ความเมตตาของฉันอยู่เหนือความโกรธของฉัน[1]

                                                                                                                          ซาเล็ม  อับดุลลอฮ์
พฤษภาคม 2554




สารบัญ ภาค 1
เรื่อง                                                                                                               หน้า
คำนำผู้เรียบเรียง
สารบัญ
บทที่ 1  ว่าด้วยอัตเตาฮีต (การเป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวของอัลลอฮ์)                             1
บทที่ ความสำคัญของเตาฮีตและการลบล้างความผิด                                                                 8
บทที่ บุคคลซึ่งตายในสภาพปราศจากชิริกจะเข้าสวรรค์โดยไม่ต้องตรวจสอบบัญชีแห่งการกระทำ  11
บทที่ 4 ความน่าหวั่นเกรงของการตั้งภาคี(ชิริก)                                                                               14   
บทที่ 5 การเรียกร้องสู่การเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น                                                      16
บทที่ 6 คำอธิบายอัตเตาฮีตและหลักฐานของประโยค ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์                                       19 
บทที่ 7 การสวมแหวน เชือกถัก หรือเครื่องรางต่างๆเพื่อป้องกันอันตรายหรือปัดเป่าความทุกข์ถือเป็น
           การตั้งภาคี(ชิริก)                                                                                                                23
บทที่ 8 อัรรูฆอ(การร่ายมนต์) ยันต์และเครื่องราง                                                                             26 
บทที่ 9 การขอดุอาต่อต้นไม้ หิน หรือสิ่งอื่นใดนอกเหนืออัลลอฮ์                                                         28
บทที่ 10 การเชือดสัตว์เพื่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์                                                                           31
บทที่ 11 ห้ามเชือดสัตว์ให้แก่อัลลอฮ์ในที่ซึ่งมีการเชือดให้แก่ผู้อื่นนอกจากอัลลอฮ์เช่นเดียวกัน             34
บทที่ 12 การบนบานกับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ คือ ชิริก                                                                    36
บทที่ 13 การขอความคุ้มครองต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ คือ ชิริก                                                       37
บทที่ 14 การขอความอนุเคราะห์จากสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ การดุอาต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์คือชิริก  38
บทที่ 15 การอุปโลกป์สิ่งไร้ความสามารถมาเป็นพระเจ้า                                                                41
บทที่ 16 สิ่งที่อัลลอฮ์พูด                                                                                                              44
บทที่ 17 การชะฟาอะ                                                                                                                  47
บทที่ 18 อัลลอฮ์ชี้แนวทางที่ถูกต้องแก่ผู้ที่พระองค์ประสงค์                                                             50
บทที่ 19 การเป็นกาเฟรเพราะการคลั่งไคล้ในบรรดาคนดี                                                                52
บทที่ 20 ห้ามยึดเอาหลุมศพมาเป็นที่อิบาดะฮ์                                                                               54
บทที่ 21 ห้ามทำให้หลุมศพกลายเป็นเจว็ดที่ถูกบูชา                                                                       56
บทที่ 22 ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งให้หนีห่างทุกหนทางซึ่งจะนำไปสู่การชิริก 58
บทที่ 23 บางส่วนของอุมมะฮ์นี้บูชาเจว็ด                                                                                       60
บทที่ 24 การใช้ไสยศาสตร์  (อัลซิฮร์)                                                                                             64
บทที่ 25 รูปแบบต่างๆของการใช้ไสยศาสตร์                                                                                   67
บทที่ 26 บรรดาหมอดูทั้งหลาย                                                                                                      69
บทที่ 27 การปัดเป่าด้วยคาถา (อันนุชเราะ)                                                                                     71
บทที่ 28 การเชื่อลาง (อัฎฎียาเราะ)                                                                                                 73
บทที่ 29 การดูดาวเพื่อทำนาย (อัตตันญีม)                                                                                      76
บทที่ 30 การทำนายฝนโดยการใช้ดวงจันทร์                                                                                    77



หมายเหตุ  ภาพข้างบนคือภาพของ สะมาหะตุซเชค อับดุลอะซีร บินบาซ  รอฮิมาฮุลลอฮ์ อดีตเเกรนด์มุฟตีเเห่งซาอุดีอารเบีย  ไม่ใช่เชคคุลอิสลามอิบนุอับดุลวะฮาบ  เเต่อย่างใดเพราะในสมัยท่านยังไม่มีกล้องถ่ายรูป


[1] อิมามบุคคอรี  บทที่ 48 ส่วนที่ 5 เลขที่ฮะดีษ 2365

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รูปแบบและการบริหารจัดการรัฐอิสลาม




บทคัดย่อ
     การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทฤษฏีว่าด้วยรูปแบบและการบริหารจัดการรัฐอิสลาม โดยการศึกษารูปแบบและการจัดการรัฐอิสลามสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความสันติความเมตตามีแด่ท่าน)และยุคการปกครองแห่งคอลีฟะฮ์ อัรรอชีดีนทั้งสี่ท่าน นอกจากนี้ยังศึกษารูปแบบและการบริหารจัดการรัฐอิสลามในสมัยอุมัยยะฮ์ สมัยอับบาซียะฮ์ และสมัยอุษมานียะฮ์ โดยอาศัยการอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากตำราประวัติศาสตร์อิสลามต่างๆ
     ผลการศึกษาพบว่าการจัดการรัฐอิสลามสมัยท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความสันติความเมตตามีแด่ท่าน)และยุคการปกครองแห่งคอลีฟะฮ์ อัรรอชีดีนทั้งสี่ท่าน เป็นรูปแบบที่มีความสมบูรณ์และเป็นแบบอย่างในการจัดการรัฐอิสลามในยุคต่อมาทั้งสามยุค อย่างไรก็ตามปรากฏว่าในยุคต่อมามีการปรับปรุงและการไม่นำหลักการซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความสันติความเมตตามีแด่ท่าน)และยุคการปกครองแห่งคอลีฟะฮ์ อัรรอชีดีนทั้งสี่ท่านได้วางเอาไว้ ได้แก่ การสร้างระบบสันตติวงศ์เกิดขึ้น มีการปรับปรุงโครงสร้างและหน่วยงานต่างๆภายในรัฐซึ่งเป็นเสมือนดาบสองคม กล่าวคือ มีทั้งการก่อให้เกิดผลดีและการก่อให้เกิดความเสื่อมแก่รัฐอิสลามในเวลาต่อมา


บทที่ 1
บทนำ

หัวข้อวิจัย  รูปแบบและการบริหารจัดการรัฐอิสลาม
ความสำคัญและความเป็นมา
     หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรออตโตมันในฐานะอาณาจักรอิสลามที่มีคอลีฟะฮ์(กาหลิบ)เป็นผู้ปกครองรัฐในฐานะอาณาจักรอิสลามได้เข้าร่วมสงครามและพ่ายแพ้ในที่สุดซึ่งส่งผลให้ต้องทำสนธิสัญญาแซฟร์(Treaty of sevre) เป็นข้อบ่งชี้ถึงการสิ้นสุดของอาณาจักรออตโตมาน(อุษมานียะฮ์) ใน ค.. 1924 จึงนับเป็นปีแห่งการปิดฉากระบอบรัฐอิสลาม(คิลาฟะฮ์)ที่ดำรงอยู่มาเป็นระยะเวลา 13 ศตวรรษ(อาฟีส สาและ,2551:7)
     ในช่วงเวลาปัจจุบันถือเป็นช่วงเวลาที่อุมมะฮ์(ประชาชาติอิสลาม)ปราศจากรัฐบาลอิสลามที่เป็นหนึ่งเดียวอย่างเช่นในอดีต ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เกิดวิกฤติรัฐอิสลามขึ้นเพราะหลังจากการสิ้นสุดยุคศาสดามุฮัมมัด(ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) รัฐอิสลามก็ดำเนินต่อเรื่อยมาผ่านการปกครองของคอลีฟะฮ์ อัรรอชิดีน(ผู้ปกครองซึ่งทรงคุณธรรม)ทั้งสี่ท่าน[1] ผ่านยุคแห่งอาณาจักรอุมัยยะฮ์ อาณาจักรอับบาซียะฮ์ อาณาจักรออตโตมัน(อุษมานียะฮ์) (ทวีศักดิ์ อุปมา,2552:103-112) ดังนั้นด้วยสาเหตุแห่งวิกฤติดังกล่าวจึงก่อให้เกิดกลุ่มขบวนการเพื่อการก่อตั้งรัฐอิสลาม
     ด้วยเหตุนี้เองผู้วิจัยจึงเห็นว่าหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรออตโตมันได้มีขบวนการมากมายที่ดำเนินการเพื่อจุดประสงค์ในการสถาปนารัฐอิสลาม(คิลาฟะฮ์) ขึ้นมาอีกครั้งซึ่งผู้วิจัยเห็นว่ารายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบรัฐอิสลามจึงเป็นหัวข้อที่น่าสนใจในการวิจัย ซึ่งรัฐอิสลามเป็นรูปแบบรัฐที่มีพัฒนาการมาตลอดระยะเวลาที่ดำรงอยู่(จรัญ มะลูลีม,2541:156)
     ขบวนการเพื่อสถาปนารัฐอิสลาม(คิลาฟะฮ์) ถูกเรียกว่ากลุ่มฟื้นฟู (Islamic Revivalism)  นอกจากนี้ยังรู้จักกันในหลายๆชื่อ ได้แก่  กลุ่มอิสลามนิยม(Islamism) กลุ่มจารีตนิยม(Islamic Traditionalism) กลุ่มรากฐานนิยม(Islamic Fundamentalism) กลุ่มญิฮาดนิยม(Jihadism) เป็นต้น (อาฟีส สาและ,2551:7)
      กลุ่มฟื้นฟู (Islamic Revivalism) มีปรัชญาที่เหมือนๆกันในทุกๆกลุ่มนั้นคือปรัชญาแห่งผู้สืบทอดในเผ่นดิน(คอลีฟะตุลอัรด์) ซึ่งมีกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกรุอานและจากฮะดีษ[2]ไว้หลายครั้ง ได้แก่


     อัลลอฮ์ทรงสัญญากับบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้กระทำความดีทั้งหลายว่า แน่นอนพระองค์จะทรงให้พวกเขาเป็นตัวแทนสืบช่วงในแผ่นดิน เสมือนดังที่พระองค์ทรงให้บรรดาชนก่อนพวกเขา เป็นตัวแทนสืบช่วงมาก่อนแล้ว  และพระองค์จะทรงทำให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์ทรงโปรดปราน เป็นที่มั่นคงเป็นเกียรติแก่พวกเขา และแน่นอนพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาได้รับความปลอดภัย หลังจากความกลัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาจะต้องเคารพภักดีข้าไม่ตั้งภาคีอื่นใดต่อข้า และผู้ใดปฏิเสธศรัทธาหลังจากนั้น ชนเหล่านั้นพวกเขาคือผู้ฝ่าฝืน  (บทอันนูร: โองการ 55)




และส่วนหนึ่งจากผู้ที่เราได้บังเกิดนั้นคือ กลุ่มชนคณะหนึ่ง ซึ่งพวกเขาแนะนำด้วยความจริง และด้วยความจริงนั้น พวกเขาปฏิบัติด้วยความเที่ยงธรรม (บทอัลอะอ์รอฟ:โองการ 181)

     คำว่ากลุ่ม ชนคณะหนึ่ง ที่ถูกระบุในโองการนี้หมายถึงกลุ่มที่ถูกอธิบายในอะดีษอีกทอดหนึ่งว่าคือ กลุ่มแห่งชัยชนะ (อัฏฏออิฟะตุล อัลมันซูเราะฮ์) ซึ่งเป็นกลุ่มนักต่อสู้เพื่อฟื้นฟูอิสลามนั่นเอง (Ibn Khathir,2000:4/215-216) ดังนั้นจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) ได้สิ้นชีวิตไป กลุ่มชนกลุ่มนี้จะสืบทอดภารกิจในการฟื้นฟูต่อไป(ทวีศักดิ์ อุปมา,2552:7) ดังปรากฏในฮะดีษหลายตัวบท ได้แก่

ความว่า: จะยังคงมี กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง จากประชาชาติของฉันอย่างต่อเนื่อง โดยปรากฏอย่างชัดเจน[3] จนกระทั่งคำสั่งของอัลลอฮ์จะมาถึง[4]พวกเขา พวกเขาจะปรากฏอยู่อย่างชัดเจน
(รายงานโดยอิมามบูคอรี:เลขที่ฮะดีษ 3392)


ความว่า: จะยังคงมี กลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง จากประชาชาติของฉันอย่างต่อเนื่อง ได้ต่อสู้กับสัจธรรม อย่าง     ประจักษ์ชัดต่อผู้ที่ต่อต้านพวกเขา จนกระทั่งรุ่นหลังสุดของพวกเขาจะต่อสู้กับ มะสีฮ์ อัดดัจยาล[5]
     แนวคิดกลุ่มผู้ฟื้นฟูถูกอธิบายเพิ่มเติมจากปราชญ์ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่วางอยู่บนเงื่อนไขของการเผยแพร่อิสลาม ตลอดช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์อิสลามซึ่งกลุ่มเหล่านี้ได้แก่ อิบนุตัยมิยะฮ์[6] อิบนุหะญัร อัล อัสเกาะลานี[7] วะลียุลลอฮ อัดดะละวีย์[8] อัชเชากานี[9] นุรุดดีน อัซซังกีย์[10] และซอลาฮุดดีน อัลอัยยูบีหรือที่รู้จักกันในนามซาลาดิน แม่ทัพแห่งมุสลิมในช่วงสงครามครูเสด(อัล -กอรฏอรวีย์,2001:15-22) เป็นต้น
    

วัตถุประสงค์ในการวิจัย
     1. เพื่อศึกษาปรัชญาของเพื่อการสถาปนารัฐอิสลาม(คิลาฟะฮ์) ขึ้นมาอีก  ครั้งโดยการศึกษาวิจัยหลักฐานต่างๆที่ได้รับมาจากอัลกรุอานและฮะดีษ
     2. นำทฤษฏีที่ได้จากข้างต้นไปอธิบายถึงผลต่ออุดมการณ์ ปรัชญาและแนวทางการดำเนินการและรูปแบบรัฐอิสลามต่างๆ
     3. เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบรัฐอิสลามในแต่ละยุคสมัย

สมมุติฐานการวิจัย
     1. ปรัชญาและของรัฐอิสลามในแต่ละยุคสมัยมีความแตกต่างกัน  จึงส่งผลให้รูปแบบการดำเนินการแตกต่างกันไปด้วย
     2. รูปแบบการดำเนินการของรัฐอิสลามมีพัฒนาการและประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย

ขอบเขตของการวิจัย
     ในการศึกษาวิจัยรายละเอียดและเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบรัฐอิสลาม(Khilafah state) ในยุคต่างๆ  ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ดังต่อไปนี้
1.             ศึกษาตัวบทที่เป็นหลักฐานคำสอนของอิสลาม เพื่อกำหนดทฤษฏี กลุ่มฟื้นฟู ซึ่งสามารถนำไปอธิบายปรัชญาพื้นฐานของรัฐอิสลาม(Khilafah state) ในยุคสมัยต่างๆ โดยผู้วิจัยพยายามจัดเรียงองค์ประกอบของทฤษฏีดังกล่าวให้รัดกุมเพื่อความเข้าใจได้ง่ายมากที่สุด
2.             การศึกษาวิจัยรายละเอียดของรูปแบบรัฐอิสลามในสมัยต่างๆโดยใช้ต้นแบบของตัวบทที่ได้บัญญัติไว้เป็นหลัก

ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     1. ก่อให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานของรัฐอิสลาม
     2. สามารถอธิบายการตีความที่แตกต่างหรือการยึดหลักฐานปลีกย่อยที่แตกต่างกันนักปราชญ์ในเรื่องรัฐอิสลาม
     3. สามารถอธิบายและเปรียบเทียบที่มาและความแตกต่างของรูปแบบรัฐอิสลามของทัศนะต่างๆได้

ข้อตกลงในการวิจัย
     1. การอ้างอิงที่นำมาจากเอกสารต่างๆ ผู้วิจัยจะอ้างโดยอ้างการเขียนแบบ นาม-ปี (Author-Date) นั่นคือมีรายชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าอ้างอิงในเครื่องหมายวงเล็บ (……)
     2. คำอธิบายเพิ่มเติมของผู้วิจัยที่ช่วยในการทำความเข้าใจเนื้อหาของงานวิจัย ผู้วิจัยจะใช้การเขียนแบบเชิงอรรถ(Footnote) เช่นประวัติย่อบุคคล คำอธิบายศัพท์สำคัญ เป็นต้น
     3. การอ้างอิงตัวบทจากคัมภีร์อัลกรุอาน ผู้วิจัยจะอ้างอิงไว้ในวงเล็บ (…..) โดยระบุชื่อบทและตามด้วยการระบุโองการ
     4. การอ้างอิงจากฮะดีษ ผู้วิจัยจะอ้างอิงไว้ในวงเล็บ (…..) โดยระบุชื่อผู้บันทึกและตามด้วยเลขที่ฮะดีษ
     5. ผู้วิจัยจะใช้คำต่อท้ายจากชื่อของศาสดามุฮัมมัด ว่า (ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) ซึ่งเป็นความหมายมาจากคำสรรเสริญในภาษาอรับที่ว่า ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม





นิยามศัพท์เฉพาะ
     1. อัลกรุอาน   หมายถึง คำดำรัสของอัลลอฮ์ที่ถูกเปิดเผยแก่ท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) และได้ถูกรวบรวมและจัดลำดับเป็นรูปเล่มหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) เสียชีวิต
     2. ฮะดีษ   หมายถึง คำพูด การกระทำ การยอมรับของศาสดา ซึ่งได้รับการจดบันทึกและการตรวจสอบสายรายงานที่เชื่อถือได้
     3. บท   หมายถึง บทต่างๆในอัลกรุอาน มีทั้งสิ้น 114 บท ในภาษาอรับเรียก บท ว่า ซูเราะฮ์
     4. โองการ   หมายถึง ลำดับภายในบทหนึ่ง ในภาษาอรับเรียก โองการ ว่า อายะฮ์
     5. อัลลอฮ์ หมายถึง พระเจ้าที่แท้จริง ซึ่งเป็นภาษาอรับที่ใช้เรียกพระผู้สร้าสงสรรพสิ่ง ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนพระองค์และพระองค์คู่ควรแก่การเคารพภักดีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

วิธีการดำเนินการวิจัย
     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ในแบบพรรณาเชิงวิเคราะห์ (Analytical Description) โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1.             การทบทวนแหล่งข้อมูล
1.1      เอกสารขั้นปฐมภูมิ (Primary Source)
1.1.1                   หนังสืออธิบายความหมายอัลกรุอานเพื่อใช้ในการอธิบายโองการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
1.1.2                   หนังสืออธิบายความหมายฮะดีษเพื่อใช้ในการอธิบายฮะดีษที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
1.2      เอกสารขั้นทุตยภูมิ
1.2.1                   เอกสารประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกในยุคต่างๆของอิสลาม
1.2.2                   เอกสารและงานเขียนของกลุ่มฟื้นฟูหรือขบวนการเพื่อการสถาปนารัฐอิสลามต่างๆ
1.2.3                   เอกสารอ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เขียนโดยนักวิชาการต่างๆ
     2.การรวบรวมข้อมูล
             2.1 ศึกษาความหมายของอัลกรุอานและคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจากหนังสืออรรถาธิบายต่างๆ
            2.2 ศึกษาความหมายของฮะดีษที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจากหนังสืออธิบายฮะดีษและประวัติฮะดีษ เพื่อรวบรวมทัศนะไว้เป็นหมวดหมู่
           2.3 ศึกษางานเขียนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยของนักวิชาการต่างๆ เพื่อรวบรวมทัศนะที่มีต่อขบวนการฟื้นฟูเพื่อสถาปนารัฐอิสลามต่างๆ และเปรียบเทียบทัศนะต่างๆ
    
     3.การวิเคราะห์ข้อมูล
          3.1 วิเคราะห์ตัวบทหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยมาประกอบเป็นทฤษฏี โดยอาศัยการวิเคราะห์ของปราชญ์อิสลามในอดีตเคยเคยวิเคราะห์ไว้มาเป็นบรรทัดฐาน
          3.2 วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของรัฐอิสลามซึ่งเป็นผลมาจากการตีความหลักฐานย่อยๆที่แตกต่างกัน
               3.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของรัฐอิสลามซึ่งเป็นผลมาจากการตีความหลักฐานย่อยๆที่แตกต่างกัน









[1] ท่านอบูบักร์ ท่านอุมัร ท่านอุษมาน ท่านอะลี
[2] คำพูด การกระทำ การยอมรับของศาสดา ซึ่งได้รับการจดบันทึกและการตรวจสอบสายรายงานที่เชื่อถือได้
[3] สำนวนหมายถึงปรากฏชัยชนะ
[4] สำนวนหมายถึงจนกระทั่งวันสิ้นโลก
[5] มะสีฮ์ อัดดัจยาล เป็นฝ่ายต่อต้านที่ร้ายแรงที่สุดซึ่งท่านศาสดามุฮัมมัด(ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่าน) ได้กล่าวเตือนเอาไว้
[6] ..1263-1328
[7] ..1372-1449
[8] ..1703-1763
[9] ..1760-1834
[10] ..1118-1174



ดาน์วโหลดวิจัยฉบับสมบูรณ์        http://www.4shared.com/document/RfN6eyw4/_online.html  

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฟัตวาเรื่องญิฮาด


เชคมูฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลบานีย์[1] รอฮิมาฮุลลอฮ์
ซาเล็ม บุญมาศ [2] เรียบเรียง
    
     โอ้พี่น้องทั้งหลาย! สำหรับเรื่องการญิฮาดทั้งในเวลานี้และก่อนหน้านี้มันคือ ฟัรฏูอัยน์”  เช่นในเรื่องของบอสเนีย มันไม่ใช่แค่ปัญหาของชาวบอสเนียเท่านั้นแต่มันได้เร้าอารมณ์ความรู้สึกของเยาวชนมุสลิม  ส่วนในเรื่องของอิสราเอลซึ่งกำลังยึดครองปาเลสไตน์อยู่นั้นเป็นความจำเป็นของประเทศมุสลิมทุกประเทศที่จะต้องญิฮาดกับอิสราเอล ต้องขับไล่พวกเขาออกจากดินแดนปาเลสไตน์รวมทั้งชายฝั่งทะเลด้วย แต่ฉันเห็นว่ามีเพียงเล็กน้อยของผู้นำประเทศมุสลิมเท่านั้นที่กระทำได้เช่นนั้น(หมายถึงกล้าญิฮาดกับอิสราเอล)เหตุผลที่การญิฮาดเป็นฟัฏูดูอัยน์เพราะดินแดนมุสลิมทั้งในอดีตและปัจจุบันถูกยึดครองโดยพวกกาเฟร พี่น้องมุสลิมถูกกดขี่ทั้งในเรื่องการประกอบอาชีพและความกังวลในชีวิตความเป็นอยู่ ความเป็นมุสลิม(หมายถึงความเป็นพี่น้อง)ไม่ว่าจะพูดภาษาอะไร อยู่ ณ ดินแดนใด หรือมีแนวคิดอย่างไร(พวกเขาก็คือมุสลิม) แต่การญิฮาดนั้นมีหลักการและเงื่อนไขและพวกเรา(หมายถึงบรรดาอุลามาอ์)เห็นว่าพันธกิจแห่งการญิฮาดเป็นพันธกิจในการช่วยเหลือพี่น้องมุสลิมในการขับไล่กาเฟรออกจากดินแดนมุสลิมที่เขายึดครองอยู่
     หลักฐานจากกิตาบุลลอฮ์ ซุนนะฮ์และอิจญมาอ์ในหมู่ปวงปราชญ์ ว่าด้วยเรื่องการญิฮาดนั้นคือฟัรฏูอัยน์ แต่ก็ได้เกิดคำถามตามมาว่า(ในปัจจุบัน)มุสลิมอาศัยโดยอยู่กันในหลายๆประเทศ ฮูก่มการญิฮาดจะเป็นเช่นไร  สำหรับฉันในเรื่องนี้มีทัศนะว่ามันเป็น ฟัรฏู ซึ่งมีแนวโน้มว่าเป็นฟัรฏูอัยน์”  การญิฮาดไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลและไม่เพียงแค่กลุ่มที่ถูกจัดตั้งขึ้นเท่านั้น แต่ในเวลานี้มันเป็นพันธกิจของเหล่าประเทศมุสลิม ประเทสเหล่านั้นต้องสร้างความแข็งแกร่ง(ด้านกองทัพ)เพื่อสร้างความพร้อมสู่การทำสงครามซึ่งหมายรวมถึงการสร้างยุทธศาสตร์การสงครามแบบใหม่ๆขึ้นมาซึ่งถ้าหากพวกเขาเข้าร่วมกันด้วยความบริสุทธิในการญิฮาดพวกเขาก็ได้กระทำฟัรฏูอัยน์ แต่น่าเสียดายที่ประเทศ(มุสลิม)ไม่ยอมรวมตัวกันเพื่อญิฮาด ดังนั้นควารอ้างเรื่องการญิฮาดไปยังกลุ่มมุสลิมต่างๆให้ญิฮาดในขณะที่กาเฟรกำลังโจมตีมุสลิมอย่างหนักหน่วง ในปัจจุบันมีกลุ่มมุสลิมที่ต่อต่อกับการรุกรานของกาเฟร เช่น ในอัฟกานิสสถาน การปฏิวัติผู้นำที่มีพฤกติกรรมกาเฟร เช่นในแอลจีเรีย แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าการญิฮาดที่กระทำโดยแต่ละบุคคล ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ไม่สามารถสร้างกฎหมายของอัลลอฮ์ขึ้นมาได้
     เราเห็นว่าการญิฮาดไม่ใช่หน้าที่ของประเทศมุสลิมประเทศใดประเทศหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็นหน้าที่ของมุสลิมทั้งมวล ซึ่งดินแดน ที่อาศัย ไม่ได้แบ่งแยก(ความเป็นมุสลิม)ออกจากกัน สิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งสำหรับการญิฮาดคือการตักวาต่ออัลลอฮ์ นั่นคือการกระทำในสิ่งที่อัลลอฮ์กำหนดไว้และหลีกห่างจากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ห้าม และการประกอบศาสนกิจที่ถูกต้อง(ตามซุนนะฮ์)แต่เสียดายที่พวกเขา(หลายๆกลุ่ม)ไม่มีสิ่งเหล่านี้
     ในเรื่องนี้ฉันพยายามกล่าวอย่างกระชับที่สุด ฉันเห็นว่าในช่วงเวลาปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มุสลิมตกต่ำที่สุด ช่วงเวลาแห่งความอัปยศที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์อิสลาม(หมายถึงเป็นเวลาที่เราไม่มีคอลีฟะฮ์) ในอัลกรุอานอายะฮ์หนึ่งอัลลอฮ์พูดว่า ถ้าสูเจ้าช่วยเหลืออัลลอฮ์ อัลลอฮ์ก็จะช่วยเหลือสูเจ้า  นี้คือสิ่งชัดเจนว่าอัลลอฮ์จะช่วยเหลือมุสลิม นั่นคือการช่วยสถาปนากฏหมายชะรีอะฮ์ให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ในความเป็นจริง เห็นว่าประเทศมุสลิมส่วนใหญ่และชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้(การใช้กฏหมายชะรีอะฮ์) และนี้คือเหตุผลที่ฉันเรียกร้องให้ทำการ ญิฮาดละเนื่องจากรัฐมุสลิมและเหล่าประชาชนยังคงอ่อนแอและพวกเขาได้ปล่อยธงแห่งการญิฮาด (หมายถึงละทิ้งฮูก่มญิฮาด)
และการญิฮาด คือการเรียกร้องให้ต่อสู้กับศัตรูโดยให้เขาญิฮาดในที่ซึ่งใกล้ที่สุดสำหรับเขา(คือสะดวกในการเข้าร่วมที่สุด)ไม่ใช่ในที่ที่ไกลออกไป(ขณะที่มีการญิฮาดในที่ใกล้ๆ) ได้แก่ ในดินแดนของตนเอง เพราะหากไม่สามารถยิฮาดในที่ใกล้ๆได้ ฉันเห็นว่าไม่สามาถรที่จะออกญิฮาดในดินแดนไกลออกไปได้ เช่น       เอริเตรีย โชมาเลีย เชชเนีย
     เมื่อถึงตอนนี้ฉันจะพูดต่อไปว่า เยาวชนมุสลิมทั้งหลาย รวมทั้งบุคคลอื่นๆและกลุ่มดาอีย์อื่นๆ ท่านจะต้องนำคำสอนที่ถูกต้อง(ตามกีตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์)ไปสู่ดินแดนต่างเริ่มที่ไปสู่ประชาชนก่อน และผู้ปกครอง และจงสร้างกฏหมายของอัลลอฮ์ขึ้นมาในดินแดนนั้นๆในที่สุด
     ท่านรอซูลุลลอฮ ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม พูดว่า เมื่อไรก็ตามที่พวกท่านพอใจอยู่กับธุรกิจของพวกท่าน พอใจอยู่กับปศุสัตว์ของพวกท่าน พอใจอยู่กับเรือกสวนไร่นาของพวกท่าน แล้วพวกท่านได้ทิ้งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮ์แล้ว อัลลอฮ์จะทำให้พวกท่านอยู่ในความอัปยศ และพวกท่านจะอยู่ในนั้นตลอด จนกว่าพวกท่านจะกลับสู่ดีนของพวกท่านอีกครั้ง(คือญิฮาด)
      ท่านรอซูลุลลอฮ ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม พูดว่า อุมมะฮ์อื่นๆจะรุมกินโต๊ะพวกท่านประหนึ่งบุคคลที่กินอาหารเป็นโต๊ะอาหาร  ซอฮาบะฮ์ถามว่า เพราะเรามีจำนวนน้อยกระนั้นหรือ? ท่านตอบว่า  ไม่ใช่ พวกท่านจะมีจำนวนมากแต่เป็นจำนวนมากเหมือนฟองน้ำทะเล(คือไร้ประโยชน์) อัลลอฮ์จะเอาความกลัวออกจากศัตรูของพวกเจ้า และจะประทับอัลวะฮ์ลงบนหัวใจของพวกเจ้า  ซอฮาบะฮ์ถามว่า อะไรคือ อัลวะฮ์? ท่านตอบว่า คือการรักดุนยาและเกลียดความตาย   
     ในเวลานี้ดินแดนมุสลิมต่างๆไม้ใช้กฏหมายของอัลลอฮ์ในการปกครองและไม่มีทีท่าว่าจะเรียกร้องสู่การญิฮาดได้ เพราะไม่มีความพร้อมดังนั้นการญิฮาดจึงไม่วายิบ แต่ในขณะเดียวกันประเทศมุสลิมหลายๆประเทศกำลังถูกยึดครองโดยการเฟร จึงเกิดคำถามขึ้นว่าแล้วเมื่อไรการญิฮาดจึงจะถือเป็นวายิบ  ปัญหาในหมู่เราตอนนี้คือไม่มีใครมีความพร้อมที่จะญิฮาดได้  ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะพวกเราจมปลักอยู่ในความแตกต่างและการแบ่งแยกเชื้อชาติซึ่งเป็นประตูไปสู่ความอ่อนแอ ดังนั้น ความพ่ายแพ้ของมุสลิมคือการนิยมในพวกพ้อง(Asabiyah)และความแตกแยกของมุสลิมนั้นเอง  ดังตัวอย่างซึ่งฉันเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นคือการญิฮาดที่อัฟกานิสสถาน พวกเขาทำการญิฮาดและได้รับชัยชนะเหนือคอมมูนิสม์(shuyuiyyeen) และฉันหวังว่าจะเป็นเมล็ดพันธ์แห่งรัฐอิสลามแต่แล้วด้วยความนิยมในเผ่าพันธุ์จึงทำให้พวกเขาแตกแยกออกเป็นเจ็ดเผ่าหลักการการได้รับชัยชนะ ทั้งๆที่ดีนแห่งอิสลามห้ามในเรื่องนี้
อัลลอฮ์พูดว่า มันไม่ใช่พวกตั้งภาคีหรอกหรือ ที่ได้แยกดีนของพวกเขาออกเป็นก๊กต่างๆ แล้วแต่ละก๊กก็ภูมิใจในที่ที่ตัวเองครอบครอง  ดังนั้นเมื่อใครคนหนึ่งประสงค์ที่จะญิฮาด นั้นหมายความว่าเขาจะได้ญิฮาด หมายความว่าเขาจะได้รับชัยชนะ แต่ในความเห็นของฉันเห็นว่ามันคงไม่ใช่ในช่วงเวลาของเรา อัลลอฮ์ได้พูดไว้ในอัลกรุอานว่า แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่เปลี่ยนสภาพของกลุ่มชนใด นอกจากเขาจะเปลี่ยนแปลงตัวของเขาเอง
    
     ฉันขอเรียกร้องมวลมุสลิมต่างๆอย่าได้แบ่งแยกพวกท่านด้วยกับรัฐบาล(หมายถึงให้ถือว่ามุสลิมคือหนึ่งเดียวกัน) พวกท่านจงเผยแพร่หลักอิสลามที่บริสุทธิ์ออกไป ขจัดบิดอะฮ์ออกให้สิ้นเพื่อนำอิสลามสู่ความรุ่งเรืองอีกครั้ง เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้นนั้นคือสัญญาณของการพร้อมที่จะญิฮาดของมวลมุสลิม นั้นคือฟัรฏูอัยน์ในเรื่องการญิฮาดได้เริ่มต้นแล้ว
     อัลลอฮ์พูดว่า .และจงเตรียมตัวสำหรับพวกเขา ในสิ่งที่สูเจ้าสามารถทั้งในเรื่องความแข็งแกร่งและอาวุธเพื่อฟันพวกเขา ความกลัวได้เข้าสู่หัวใจของพวกเขาแล้ว” 

วัสสลาม
เรียบเรียงเมื่อ 9 พฤกษภาคม 2554


     โหลดเป็นไฟล์  Word  ได้ที่ http://www.4shared.com/file/gsGVupwS/_online.html
    



[1] เชคอัลบานีย์เป็นนักฮาดิษคนสำคัญของโลกมุสลิมในศตวรรษปัจจุบัน
[2] กลุ่มอัซซาบิกูน      www. อิสลาม.net