วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมในฐานะ “มือที่มองเห็น”ของเศรษฐกิจอิสลาม

     โจเซฟ ชุมปีเตอร์ กล่าวไว้ในหนังสือ History of Economics Analysis ได้แสดงให้เห็นสภาพความตกต่ำของยุคกลางหรือรู้จักกันว่าเป็นยุคมืดซึ่งการปกครองการบริหารทั้งหมดอยู่ภายใต้คริสต์จักรของยุโรปซึ่งหลังจากการตกต่ำในยุคนั้นก็ได้เกิดยุคแห่งภูมิปัญญาของยุโรป (Enlightenment)อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งในช่วงนี้ได้เกิดปรัชญา มรรควิธีเชิงประจักษ์ (Empirical Medthod) และศิลปะในยุคกรีก-โรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และได้มีการศึกษาเศรษฐกิจในพื้นที่และสำนักต่างๆ
     การศึกษาอย่างมีมรรควิธีที่ประจักษ์ดังกล่าวและลักษณะของยุคแห่งภูมิปัญญาก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างน่าอัศจรรย์แต่ในขณะเดียวกันมันได้เผยให้เห็นถึงธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ นั่นคือ ธรรมชาติอันอันปราศจากการควบคุมและความหลงตัวเอง แต่ระบบเศรษฐกิจแห่งพระเจ้าองค์เดียวเป็นระบบเศรษฐกิจแห่งมนุษย์กำไรเช่นเดียวกันแต่ก็ยังคงวางอยู่บนพื้นฐานแห่งจริยธรรมทางศาสนา เพราะศาสนาแห่งพระเจ้าองค์เดียวจะทำให้มนุษย์ตระหนักในเรื่องมโนธรรมและไม่ลุ่มหลงไปกับลัทธิวัตถุนิยมอย่างมืดบอด เมื่อหันมามองโลกอิสลามในยุคทองทางเศรษฐกิจ พบว่าผู้คนซึ่งศรัทธาในอัลลอฮ์องค์เดียวมีการเก็บค่าเช่าทางเศรษฐกิจอย่างง่ายๆ ไม่ซ้ำซ้อนในเรื่องการเก็บเพราะการเก็บซ้ำซ้อนจะก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มแก่ผู้ประกอบธุรกรรม การเชื่อในอัลลอฮ์ และจริยธรรม อันได้แก่ การห้ามริบา ความไม่ซ้ำซ้อน ความเป็นพี่น้องก็เป็นเหตุผลที่ทำให้การเงินอิสลามเป็นความสำเร็จในช่วงยุคต้นของบรรพชนอิสลามและมุสลิมก็เป็นผู้นำทั้งในแง่วิทยาการและจริยธรรมในช่วงแห่งยุคมืดและการบิดเบือดของศาสนจักรในฝากฝั่งยุโรป
     การขยายตัวของยุคทองทางด้านเศรษฐกิจของอิสลามเกิดขึ้นได้ด้วยการขับเคลื่อนของความเจริญทางด้านศีลธรรม และศาสนาอิสลาม ความหลากหลายของมุสลิมในดินแดนต่างๆ และมโนธรรมสำนึกแห่งการทำงานเพื่อศาสนาของอัลลอฮ์ การขยายตัวทางการค้าและการกระจายความมั่งคั่งอย่างเป็นธรรมในอิสลาม(ซึ่งไม่ได้จำกัดความแค่ทางด้านเศรษฐกิจเท่านั้น) ก่อให้เกิดการปรับปรุงทางทางจริยธรรมของคน จิตสำนึกความเป็นพลเมืองจะผูกโยงกับจิตสำนึกแห่งศาสนาซึ่งหมายความว่าจิตสำนึกแห่งความเป็นอุมมะฮ์อิสลามร่วมกันนั่นเองเพราะมุสลิมเชื่อมั่นในโลกหน้าจึงจำเป็นต้องแสวงหาความมั่งคั่งและความปลอดภัยในโลกหน้าควบคู่กันไป มูลฐานสำคัญในการขยายตัวและความมั่นคั่งของมุสลิมในยุคนั้นคือ อัลกรุอานและซุนนะห์ของท่านรอซูล (ขอความสันติความโปรดปรานมีแด่ท่าน) ซึ่งท่านได้กล่าวกล่าวอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นของจริยธรรมทางการเงิน  การสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจที่ยุติธรรม
จากอิบนุ อุมัร กล่าว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความโปรดปรานความสันติมีแด่ท่าน)กล่าวว่าเมื่อบุคคลสองฝ่ายทำข้อตกลงที่จะซื้อขาย ทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์ที่จะเลือก(กำหนดราคา ทำสัญญาซื้อขายกันหรือยกเลิกการซื้อขาย) ก่อนที่จะแยกจากกันหรือได้ตกลงอย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่มีการตกลงล่วงหน้า[1]
จากอบูฮูรอยเราะฮกล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ขอความโปรดปรานความสันติมีแด่ท่าน) กล่าวว่า พ่อค้าควรมีอิสระในการขายหรือไม่ขายก็ได้[2]
      ดังนั้นระบบคำสอนอิสลามจึงไม่ใช่แค่ความรู้อันศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงจิตวิญญาณและการปฏิบัติที่เป็นธรรม จุดนี้เป็นสิ่งที่สร้างความรุ่งเรืองให้แก่มุสลิม เริ่มทั้งแต่การทำธุรกรรมเล็กๆตามท้องถิ่นต่างๆ จนกระทั่งมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและการสร้างเครื่องมือทางการเงินที่ซับซ้อน (เช่น ตราสารต่างๆ)  ในช่วงเวลาเดียวกันอีกฟากหนึ่งซึ่งประกอบไปด้วย ชาวนา ช่างฝีมือ พ่อค้าต่างๆ ต่างถูกกดขี่ด้วยระบบเศรษฐกิจที่ไม่ยุติธรรมซึ่งพวกเขาเหล่านี้ต่างก็เรียกร้องความเป็นธรรม ภายใต้สังคมที่ไม่เป็นธรรมและเต็มไปด้วยระบบทาส
     ต้นแบบแห่งการดำเนินธุรกรรมอิสลามไม่เฉพาะแค่การปฏิเสธการขูดรีดเท่านั้น แต่ยังห้ามการดำเนินธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทที่มีแนวโน้มซึ่งอาจจะนำไปสู่การขูดรีดได้ S.Todd Lawry ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งเป็นสำนักทางเศรษฐศาสตร์ที่ขึ้นชื่อว่ามีแนวทางเศรษฐศาสตร์ที่ค่อนข้างเสรีควบคู่กับสำนักชิคาโก  ได้ทำการศึกษาเศรษฐกิจในยุคของท่านรอซูล (ขอความสันติความโปรดปรานมีแด่ท่าน) พบว่าสภาพการเงินมีความมั่นคั่งโดยมีฐานการดำเนินนโยบายทางอัลกรุอานและความเป็นรอซูลหรืออัซซุนนะห์ของท่าน ในช่วงต้นของงานของเขา ที่ชื่อว่า Medieval Islamic Economic Thought : Filling the Great Gap in European Economic  ได้วิเคราะห์ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจอิสลามในอดีตวางอยู่บนหลักการสำคัญ 3 ประการดังนี้
1.      ในทุกๆกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินต่างๆ ต้องวางอยู่บนผลประโยชน์ของประชาชนร่วมกัน ของสังคมร่วมกัน และของโลกทั้งมวลร่วมกัน
2.      ในทุกๆกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินต่างๆ ต้องวางอยู่บนความเสมอภาคและจริยธรรมแห่งการจำนนต่ออัลลอฮ์ เพื่อคุณค่าความเป็นมนุษย์ของปัจเจกชนและการช่วยเหลือคนยากไร้และผู้ด้อยโอกาสผ่านการกระจายรายได้ผ่านระบบซะกาต
3.      ในทุกๆกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินที่มีการขูดรีดผ่านส่วนเกินและรายได้อันมิบังควรต่างๆจะถือว่าเป็นการกบฏ เป็นการเนรคุณพระเจ้า การกระทำผิดต่อสังคมและประชาชนทั้งมวล

     จากหลักการข้างต้นได้ถือเป็นปรัชญาของเศรษฐศาสตร์เพื่อการพัฒนาของมุสลิม ก่อให้เกิดความหลากหลายทางเศรษฐกิจและการเงินซึ่งวางอยู่บนจริธรรมแห่งการกำหนดโดยอัลกรุอานและซุนนะห์   ศาสตราจารย์ Lawry ได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ปรัชญาดังกล่าวยังสร้างนักเศรษฐศาสตร์มุสลิมที่เป็นปัญญาชนอย่างแท้จริงซึ่งเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีแห่งความเป็นนักเศรษฐศาสตร์จักรวาลทัศน์นิยม และอาจกล่าวได้ว่าอิสลามเป็นเครื่องหมาย จริยธรรมแห่งการพาณิชย์
 อ่านเเละโหลดบทความเต็มๆ ที่ http://www.4shared.com/file/DNJea_dO/_online.html


[1] บุคอรี  สำนวนแปลของ จารึก เซ็นเจริญ และคณะ  บทที่ 20 ส่วนที่ 11 เลขที่ฮะดีษ 1477
[2] บุคอรี  สำนวนแปลของ จารึก เซ็นเจริญ และคณะ  บทที่ 20 ส่วนที่ 5 เลขที่ฮะดีษ 1465