วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

สถาบันการศึกษาและปอเนาะ : อดีต-ปัจจุบัน

หมายเหตุ  บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งเเรกในวารสารสะมิอ์นา วาอะตออ์นา  ฉบับที่ 11


ปอเนาะในฐานะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในปัจจุบันมีการปรับการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ทางศาสนาและความรู้ทางสามัญเพื่อใช้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจมองได้ว่าเป็นการปรับตัวอีกระดับหนึ่งของปอเนาะซึ่งในเรื่องนี้ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นักวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์มุสลิมคนสำคัญได้มองว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงสองทางที่ยังคงมีอยู่ กล่าวคืออิสลามศึกษามีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็น Radical Science ปรับให้มีความสอดคล้องกับ Alterity มากขึ้น   ซึ่งการปรับเปลี่ยนตรงนี้ฉันมองว่าเกิดจากสองประเด็นหลัก ดังนี้
1.             การปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับภาวะสังคมแวดล้อมและภาวะสมัยใหม่ของโลกปัจจุบันอย่างที่ชัยวัฒน์และนักวิชาการอื่นๆนำเสนอ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถออกไปศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อประกอบวิชาชีพในอนาคตต่อไปได้
2.             การเปลี่ยนแปลงที่เกิดการโลกทัศน์ของผู้รู้ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ ตั้งแต่ช่วงปลายถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีผู้รู้ที่จบมาจากดินแดนมุสลิมอื่นๆนอกจากฮารอมัยน์มากขึ้น ซึ่งได้แก่ อียิปต์  โมรอกโค มาเลเซีย หรือแม้กระทั่งในยุโรปหรืออเมริกาก็ตาม ซึ่งดินแดนเหล่านี้มีลักษณะ เปิดมากกว่าดินแดนฮารอมัยน์ จึงก่อให้เกิดโลกทัศน์แห่งความสมัยใหม่แก่ผู้รู้ที่กลับมา ซึ่งอาจเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในปัจจุบัน
      อย่างไรก็ตามฉันเห็นว่าการปรับเปลี่ยนพัฒนาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในประเทศไทยปัจจุบันมีลักษณะที่มีความต้องการให้มีระบบการเรียนการสอนอิสลามและสามัญในแบบของประเทศมาเลเซียซึ่งนับว่าเป็นประเทศที่มีคุณภาพทางการศึกษาที่สูง ซึ่งแนวทางที่ถูกขับขานในปัจจุบันคืออิสลามาภิวัฒน์องค์ความรู้ .............

อ่านเเละดาวน์โหลดบทความทั้งหมดที่ http://www.4shared.com/document/CATi6ljZ/___online.html?   



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น