วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

โต้ ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) กรณีบทความ จดหมายวิวาทะระหว่างความรุนแรงกับสันติวิธี วิวาทะ บิน ลาเดน กับคานธี ทำไมจึงก่อการร้าย

بسم الله الرحمن الرحيم


จงสู้รบในทางของอัลลอฮฺเถิด บรรดาผู้ขายชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกนี้ด้วยปรโลก และผู้ใดสู้รบในทางของอัลลอฮฺ และเขาถูกฆ่าหรือได้รับชัยชนะเราจะให้รางวัลอันใหญ่หลวงแก่เรา-74-อันนิซาอ


บรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น พวกเขาจะต่อสู้ในทางของอัฎ-ฎอฆูต ดังนั้นพวกเจ้าจงต่อสู้บรรดาสมุนของชัยฏอนเถิด แท้จริงอุบายของชัยฏอนนั้นเป็นสิ่งที่อ่อนแอ-76-อันนิซาอ


วิพากษ์ ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) กรณีบทความ  จดหมายวิวาทะระหว่างความรุนแรงกับสันติวิธี วิวาทะ บิน ลาเดน กับคานธี ทำไมจึงก่อการร้าย
ซาเล็ม อับดุลลอฮ
       ภิกขุ ปาเร็ค (Bhikhu Parekh) ศาสตราจารย์ปรัชญาการเมืองและสมาชิกสภาขุนนางอังกฤษผู้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับมหาตมะ คานธี 3 เล่ม  ได้เขียนบทความโดยใช้วิธีการสมมุติบุคลาธิษฐาน หรือสมมุติบุคคลสองคนสนทนา/วิวาทะระหว่างกันซึ่งในบทความนี้เป็นการสนทนาระหว่างคานธีและเชคอุซามะ บินลาเดน ในบทความนี้บุคคลทั้งสองเป็นภาพตัวแทนของสันติวิธีและการก่อการร้ายตามลำดับซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีการนำเสนอที่คลาดเคลื่อน/บิดเบือน การอ้างอย่างลอยๆและเนื้อหาส่วนใหญ่วางอยู่บนอัตตาของภิกขุ ปาเร็ค ที่เต็มไปด้วยอคติต่อเชคอุซามะ บินลาเด็นและเหล่าชุฮาดาอ ผู้เขียนจะวิพากษ์ตามลำดับประเด็นต่อไปนี้

วิพากษ์คำนำของภิกขุ ปาเร็ค
     คำนำเริ่มต้นด้วยการประณามเชคอุซามะ บินลาเด็น ว่าผู้ก่อเหตุการณ์ 9/11 และการก่อการในเมืองมาดริด และตั้งคำถามต่อเหล่าชุฮาดาอ ว่ากระทำการรุนแรงได้อย่างไร ในประเด็นนี้การอ้างว่า 9/11 เป็นการกระทำของเชคอุซามะ บินลาเด็นเป็นการอ้างอย่างลอยๆไม่มีหลักฐานประจักษ์ที่พิสูจน์ถึงข้อกล่าวหานี้ได้ นอกจากนี้เชคอุซามะ บินลาเด็น ยังเคยออกมาปฏิเสธว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 9/11 
ประเด็นที่สอง การตั้งคำถามกับการก่อความรุนแรง ในประเด็นนี้ขอตั้งคำถามกลับว่าหากใช้บรรทัดฐานที่ว่าการใช้ความรุนแรงไม่เป็นที่ยอมรับในทุกกรณี ภิกขุ ปาเร็คก็จำต้องตั้งคำถามกับการกระทำของเจว็ดอเมริกาและพันธมิตรที่ใช้ความรุนแรงกับมุสลิมด้วย ไม่ว่าจะกรณีคุกแห่งกวนตานาโม สงครามในอัฟกานิสถานหรืออิรัค หรือการใช้ความรุนแรงของอันธพาลอิสราเอล เป็นต้น ดังนั้นการตั้งคำถามเฉพาะกับเหล่าชุฮาดาอ ถือเป็นการปฏิบัติลิ้นสองแฉก (Double standard) อันน่ารังเกียจของภิกขุ ปาเร็ค
     ช่วงท้ายของคำนำ ภิกขุ ปาเร็ค ได้กล่าวถึงจุดประสงค์หนึ่งของงานชิ้นนี้ว่าเพื่อ  ทำความเข้าใจโลกทัศน์อันวิปริตผิดเพี้ยนซึ่งบันดาลใจบิน ลาเดน ให้ได้บ้างอย่างน้อยบางส่วน”  ประเด็นนี้ขอตั้งคำถามว่าความวิปริตผิดเพี้ยนหรือไม่มีมาตรฐานอะไรชี้วัด ถ้าอ้างเช่นนั้นผู้เขียนก็จะอ้างกลับว่า ตามอัตตาของผู้เขียน ภิกขุ ปาเร็ค เป็นผู้มืดบอดต่อสันติวิธีอย่างวิปริตผิดเพี้ยนและไม่ตระหนักถึงความจริงถึงประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติว่าถูกจารึกด้วยความขัดแย้งและสงครามตลอดมา ประเด็นนี้ผู้เขียนต้องการชี้ให้เห็นถึงการวางอยู่บนอัตตาของภิกขุ ปาเร็ค แล้วสถาปนาอัตตาของตนเองว่าเป็นสัจธรรมว่าเป็นหลักสากลเพื่อไปพิพากษาผู้อื่น


วิพากษ์จดหมายสมมุติ จากเชคอุซามะถึงคานธี วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.2003
     จดหมายเริ่มต้นด้วยการสมมุติเหตุผลของเชคอุซามะในการต่อสู้ได้แก่ ชาวคริสเตียนผู้ริษยาแรงดึงดูดใจและรังเกียจอำนาจของอิสลามมาช้านาน ได้พยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือและบ่อนทำลายอิสลามโดยล้อเลียนความเชื่อ ป้ายสีบิดเบือนพระศาสดา และดำเนินสงครามศาสนาต่ออิสลาม”   โลกสมัยใหม่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และประเทศยุโรปอื่นๆ ก็เริ่มสร้างอุตสาหกรรมด้วยแรงกิเลสตัณหาแห่งความกระหายอำนาจและกระสันต์กำไร อันเป็นฐานรากของทุนนิยมและจักรวรรดินิยม พวกเขาเข้าพิชิตพื้นที่อันกว้างใหญ่ของโลกและเริ่มดันแปลงโฉมอาณานิคมให้เหมือนตน”  “ขณะเดียวกันเนื่องจากสังคมมุสลิมทั้งหลายเองก็ทรยศหลักศาสนาของตัว และเสื่อมทรามถดถอยลง จึงตกเป็นเหยื่อโดยง่าย ด้วยอาวุธอันเหนือกว่า อังกฤษและฝรั่งเศสปราบจักรวรรดิออตโตมันลงราบคาบ  หลังสงครามปี ค.ศ.1939-1945 พวกเขาก็ริบบ้านเกิดเมืองนอนไปจากชาวปาเลสไตน์ หยิบยื่นแผ่นดินผืนใหญ่ให้ชาวยิว และสร้างบ่อเกิดกลัดหนองแห่งความอยุติธรรมขึ้นในรูปประเทศอิสราเอล”  “ เมื่อสหรัฐอเมริกาเข้าแทนที่นานาประเทศยุโรปซึ่งอ่อนแอลงในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 มันยังคงดำเนินโครงการนี้ต่อไป และออกแบบจักรวรรดิของตัวเองที่แนบเนียนกว่าขึ้นมา ในนามของการป้องกันโลกตะวันตกไว้จากภัยคุกคามโซเวียต มันก่อตั้งและหนุนหลังระบอบหุ่นเชิดในหลายแห่งของโลก โดยเฉพาะในบรรดาสังคมมุสลิมแห่งตะวันออกกลาง เจ้าของน้ำมันซึ่งอเมริกาต้องอาศัยมาสร้างความเจริญรุ่งเรือง
     อเมริกากระทั่งยังลำเอียงเข้าข้างอิสราเอลกระเท่เร่กว่าพวกยุโรปด้วยซ้ำไป โดยทุ่มความช่วยเหลือต่างประเทศของตนจำนวนมากให้อิสราเอล ติดอาวุธอิสราเอลและยุยงส่งเสริมความมักใหญ่ใฝ่ขยายดินแดนของอิสราเอล ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้สหรัฐอเมริกาสำคัญตนผิดว่าไร้เทียมทาน และสำแดงความผยองลำพองออกมาอย่างเลิกเกรงใจใคร
     ทุกวันนี้สหรัฐอเมริกาปักใจเด็ดเดี่ยวจะเปลี่ยนโลกทั้งใบเป็นแบบอเมริกัน และปรับโครงสร้างทุกสังคมเสียใหม่ไปในแนวทางโลกวิสัย ทุนนิยม เสรีนิยมและบริโภคนิยม กองกำลังทหารอเมริกันตั้งประจำอยู่ใน 120 ประเทศและกดดันรัฐบาลประเทศเหล่านั้นให้ทำตามคำสั่งตน มันเข้าควบคุมบรรดาสถาบันเศรษฐกิจและการเมืองสำคัญระหว่างประเทศและใช้มันหาประโยชน์เข้าตัว ถ้าทำแบบนั้นไม่ได้ผล มันก็หันไปติดสินบนและขู่จะแฉโพยความลับเพื่อให้ได้ดั่งใจ และถ้านั้นยังล้มเหลวอีก มันก็จะดำเนินการตามลำพังโดยไม่นำพากฎหมายหรือสถาบันระหว่างประเทศใดๆ ไม่มีรัฐบาลใดจะพ้นเงื้อมมือมันไปได้
ผมมีเป้าหมาย 4 ประการคือ
1) ขับไล่ชาวอเมริกันออกจากสังคมมุสลิม

2) ทำลายอิสราเอลในฐานะรัฐต่างหากของชาวยิวลง แล้วสร้างประเทศปาเลสไตน์อันเสรี ที่ซึ่งชาวยิวอยู่ได้ในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง

3) ขับโค่นสมุนฉ้อฉลของอเมริกาในสังคมมุสลิมและปรับโครงสร้างสังคมเหล่านั้นเสียใหม่ตามหลักการอิสลามที่แท้จริง และประการสุดท้าย

4) ฟื้นฟูความรุ่งโรจน์แต่กาลก่อนของอิสลาม โดยผนึกชุมชนอิสลามทั้งมวล (umma) เข้าด้วยกันเป็นเอกภาพและประกันให้มุสลิมได้ปกครองประเทศมุสลิมแต่กาลก่อนเช่นปาเลสไตน์, บูคารา, เลบานอน, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, ชาด, เอริเทรีย, โซมาเลีย, ฟิลิปปินส์, พม่า, เยเมนใต้, ทัชเคนต์ และแอนดาลูเซีย
      ความรุนแรงเป็นหนทางเดียวที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ เพราะมันเป็นภาษาเดียวที่สหรัฐอเมริกาเข้าใจ ความรุนแรงของเราจำต้องอาศัยการก่อการร้ายเป็นฐาน เพราะชาวมุสลิมที่ด้อยอาวุธยุทธภัณฑ์ย่อมไม่อาจทัดเทียมแสนยานุภาพอเมริกันได้หากรบกันซึ่งหน้า ถึงแม้ความรุนแรงในการก่อการร้ายของเราจะพุ่งเป้าใส่ "สัญลักษณ์แห่งอำนาจทางทหารและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา" เป็นอันดับแรก แต่จะให้เราละเอียดลออละเมียดละไมเสียจนไม่โดนพลเรือนเลยก็คงไม่ได้ อย่าลืมว่าสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่เคยละเว้นพลเรือนเวลาทำสงครามกับเรา
     จากข้อเขียนข้างต้นแสดงให้เห็นว่าภิกขุ ปาเร็ค เข้าใจสภาพการณ์ทุกอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นที่คลาดเคลื่อน ได้แก่เรื่องจักรวรรดินิยมออตโตมัน กล่าวคือ ออตโตมันไม่ใช่จักรวรรดินิยมแต่ออตโตมันคือเป็นอาณาจักรคิลาฟะฮ มีคอลีฟะฮเป็นผู้ปกครองต่อเนื่องกันมาไม่ใช่จักรวรรดินิยมอย่างที่ ภิกขุ ปาเร็ค  นอกจากนี้เป้าหมายในการก่อการต่อสู้ของเชคอุซามะ 4 ประการที่ ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาผู้เขียนก็ไม่เห็นว่าจะขัดกับสิทธิตามธรรมชาติหรือหลักสากลตรงไหน กล่าวคือ สิทธิในการขับผู้รุกรานในนามของประชาธิปไตยเสรีนิยมออกจากดินแดนมาตุภูมิ สิทธิในการเรียกร้องดินแดนมาตุภูมิคืนจากรัฐผู้แย่งชิงอย่างอิสราเอล การสร้างอาณาจักรอุมมะฮอิสลามขึ้นมาแทนที่รัฐประชาชาติ(Nation-State)  แต่น่าสงสัยว่าทำไมภิกขุ ปาเร็ค จึงได้มืดบอดกับหลักธรรมชาติพื้นฐานดังกล่าว
วิพากษ์จดหมายตอบของคานธี (ส่วนแรก)  1 พฤศจิกายน ค.ศ.2003
     จดหมายเริ่มต้นด้วยการกล่าวโจมตีเชคอุซามะ ฉันเห็นว่าเธอใช้เหตุผลวิปริตผิดเพี้ยน และการสดุดีความรุนแรงของเธอนั้นช่างน่าทุเรศสิ้นดี”  ประเด็นนี้ผู้เขียนได้วิพากษ์เรื่องการให้เห็นผลวิปริตผิดเพี้ยนไปแล้วในประเด็นก่อนหน้านี้ว่าเป็นการอ้างอย่างลอยและอยู่บนบรรทัดฐานแห่งอัตตาของตนเอง
     “เธอกล่าวโจมตีจักรวรรดินิยมยุโรปก็เพราะมันทำให้จักรวรรดินิยมของเธอสิ้นสุด และเธอกล่าวโจมตีชาวอเมริกันก็เพราะพวกเขาขัดขวางไม่ให้เธอฟื้นฟูจักรวรรดินิยมของเธอขึ้นมาใหม่ ในฐานที่เธอเองก็เป็นนักจักรวรรดินิยม เธอจึงไม่มีสิทธิทางศีลธรรมใดๆ ที่จะกล่าวโจมตีแผนการจักรวรรดินิยมของคนอื่น”   ในประเด็นนี้ต่อเนื่องจากข้อชี้แจงเรื่องจักรวรรดินิยมซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง อย่างไรก็ตามหากถือว่าสิ่งซึ่งเชคอุซามะปกป้องอยู่คือจักรวรรดินิยม(แห่งอุมมะฮ)อย่างนี้ภิกขุ ปาเร็ค กล่าวจริงและหากความเป็นจักรวรรดินิยมคือความไม่ชอบธรรม ภิกขุ ปาเร็คก็จำต้องมีมาตรฐานเช่นเดียวกันกล่าวคือต้องแสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบธรรมของจักรวรรดินิยมอเมริกาด้วย การอ้างเช่นนี้จึงเป็นการอ้างอย่างลิ้นสองแฉกเหมือนเดิม
     “เธอพร่ำพูดเรื่องสังคมอิสลามที่แท้จริง ซึ่งเธออยากจะรื้อฟื้นความรุ่งเรืองของมันขึ้นมา พูดตรงๆ นะว่าฉันไม่เห็นมันจะดึงดูดใจฉันหรือเพื่อนชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของเธอตรงไหนเลย เธอต้องการจะผสมผสานรัฐรวมศูนย์ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมและอาวุธนิวเคลียร์ เข้ากับค่านิยมและการปฏิบัติแบบอิสลามชุดหนึ่ง นี่เป็นโครงงานใหญ่ที่ลักลั่นแยกแย้งกันเอง เพราะลงเธอเลือกรับเอาสถาบันทางเศรษฐกิจ การเมืองและอื่นๆ แห่งความทันสมัยแล้ว เธอไม่มีทางหนีตรรกะของมันไปพ้น”   ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่าภิกขุ ปาเร็ค อ้างมาลอยๆ ว่ามุสลิมส่วนใหญ่ไม่มีความสนใจที่จะรื้อฟื้นอาณาจักรคิลาฟะฮขึ้นมา โดยไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆมายืนยันถึงการกล่าวอ้างของตนเองเลย นอกจากนี้ภิกขุ ปาเร็ค ยังมีความเข้าใจอีกว่ารัฐคิลาฟะฮต้องเป็นรัฐที่ปฏิเสธความทันสมัยหรือการทำให้ทันสมัย กล่าวคือภิกขุ ปาเร็คคงเข้าใจว่ารัฐคิลาฟะฮ ต้องเป็นรัฐจารีตอย่างที่นักวิชาการตะวันตกมักเข้าใจกันซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น กล่าวคือรัฐคิลาฟะฮต้องสนับสนุนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของอุมมะฮ โดยอยู่บนเงื่อนไขของชาริอะฮนั่นเองหาใช่การปฏิเสธการพัฒนาอย่างที่ภิกขุ ปาเร็ค เข้าใจไม่
     “ ก็อย่างที่เธอยอมรับนั่นแหละ สังคมมุสลิมได้เสื่อมถอยลง แต่คำอธิบายของเธอเรื่องนี้ผิดถนัด สังคมมุสลิมเสื่อมถอยก็เพราะมันหยุดนิ่ง เหลื่อมล้ำ ถือหลักผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และขาดจิตวิญญาณของการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ เสรีภาพของปัจเจกบุคคลและสมรรถนะที่จะปฏิบัติการแบบรวมหมู่และร่วมมือ ในเรื่องต่างๆ เหล่านี้เราต้องเรียนรู้จากโลกตะวันตกอีกมาก”  ในประเด็นนี้ภิกขุ ปาเร็ค ก็อ้างอย่างลอยๆเหมือนเดิมโดยไม่ได้ยกหลักฐานที่ว่าอิสลามสอนให้มุสลิมหยุดนิ่ง เหลื่อมล้ำหรือมีชนชั้น ถือหลักผู้ชายเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง อย่างไร คำตอบคือไม่มี แต่ที่มุสลิมตกต่ำ เหลื่อมล้ำ เฉื่อยชาที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเกิดจากความขลาดกลัวและหน่อมแน่มของมุสลิมเองไม่ใช่จากคำสอนของอิสลาม
     “ตัวฉันเองก็เป็นนักเรียนที่สำนึกคุณของโลกตะวันตก ได้เรียนรู้มากจากประเพณีแบบเสรีนิยม คริสเตียนและสังคมนิยมของเขา และประสานมันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิตและวิธีคิดของอินเดียอย่างเหมาะสม การแบ่งโลกอย่างหยาบๆ ออกเป็นตะวันตกกับตะวันออกไม่ช่วยอะไร เพราะมันทำให้แต่ละข้างแต่ละฝ่ายเป็นแบบเดียวกันเกินไป และขัดขวางการเสวนาที่อำนวยประโยชน์แก่กันและกัน”  ในประเด็นนี้ผู้เขียนขอวิพากษ์สั้นๆว่าคุณจะยึดอะไรเป็นสรณะนั้นเป็นเรื่องของคุณเป็นความเชื่อของคุณเป็นการตัดสินใจของคุณ แต่จะนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานสากลย่อมไม่สมเหตุสมผล (for you not me.)
     “เธอบอกว่าโลกตะวันตกนั้นกลวงเปล่าทางจิตวิญญาณ และเรียกพลเมืองของเขาว่าพวกนอกศาสนา ความจริงแล้วถึงแม้โลกตะวันตกจะนิยมบริโภคและนิยมทหาร แต่พลเมืองของเขาจำนวนมากก็มีมโนธรรมสำนึกทางสังคมแข็งแรง ความห่วงใยคนยากจนเอย รัฐสวัสดิการเอย ความปรารถนาจะสร้างสังคมที่เป็นธรรมเอย และการกดดันเรียกร้องความยุติธรรมระดับโลก และการแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรมเอย ทั้งหลายทั้งปวงที่เอ่ยมาล้วนเป็นตัวอย่างของการนี้“  ในประเด็นนี้ผู้เขียนไม่ปฏิเสธความจริงดังกล่าวที่ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาแต่ตั้งข้อสังเกตว่าการให้เหตุผลดังการเป็นการให้เหตุผลที่มืดบอดต่อความจริงของการเมือง ผู้เขียนไม่คาดคิดว่าศาสตราจารย์ปรัชญาการเมืองจะมืดบอดในประเด็นดังกล่าวได้ถึงเพียงนี้ กล่าวคือที่ภิกขุ ปาเร็ค ยกมาเป็นโครงสร้างส่วนล่างทางการเมืองทั้งหมด แต่สิ่งซึ่งภิกขุ ปาเร็ค ไม่ได้กล่าวถึงคือโครงสร้างส่วนบนทางการเมือง เช่นรัฐบาล กฏหมาย นโยบายระหว่างประเทศว่าเป็นเช่นไร ต่อให้โครงสร้างส่วนล่างดีแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์หากโครงสร้างส่วนบนเต็มไปด้วยแนวคิดเรื่องอำนาจและการรุกรานอย่างไร้เหตุผล
     “ดูเธอจะเชื่อว่าศาสนาอิสลามนั้นสมบูรณ์แบบ แต่ศาสนาทั้งปวงก็ล้วนมีทั้งสัจธรรมและความผิดพลาดด้วยกันทั้งสิ้น”   ในประเด็นผู้เขียนขอวิพากษ์สั้นๆว่าตามตรรกะแล้วเป็นไปไม่ได้ที่สัจธรรมจะมีมากว่าหนึ่งหรือความจริงสองชุดอย่างที่เป็นวาทกรรมอยู่ในปัจจุบัน
     “และเมื่อเธอร้องขอให้รัฐอิสลามยัดเยียดหลักการเหล่านี้แก่คนในบังคับของตน ก็เท่ากับเธอปฏิเสธไม่ให้เสรีภาพทางศาสนาขั้นพื้นฐานแก่พวกเขา นี่ย่อมเป็นหนทางที่แน่ใจได้ที่สุดเลยว่า มันจะทำให้ทั้งศาสนาของเธอและรัฐนั้นเสื่อมทรามลง และยังจะยับยั้งความเจริญงอกงามทางศีลธรรมและจิตวิญญาณของประชาชนของเธออีกด้วยประเด็นนี้เป็นการให้ร้ายต่อประวัติศาสตร์อิสลามอย่างไม่น่าให้อภัยของภิกขุ ปาเร็ค เพราะรัฐคิลาฟะฮไม่ได้หมายความว่าพลเมืองทุกคนต้องเป็นมุสลิม กล่าวคือรัฐคิลาฟะฮให้สิทธิอย่างเต็มที่กับพลเมืองที่จะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ตนเองศรัทธา นอกจากนี้หลักการอิสลามก็ห้ามเด็ดขาดในเรื่องการบังคับให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง
     “เธอโทษชาวยุโรปหรืออเมริกันว่าเป็นเหตุแห่งสภาพลำบากยากแค้นอันน่าสังเวชของเธอ แต่เธอไม่เคยโทษอิสลามเลย  นี้เป็นการให้ร้ายอิสลามอีกครั้งหนึ่งภิกขุ ปาเร็ค กล่าวคือเป็นการอ้างอย่างลอยๆว่าหลักการอิสลามเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มุสลิมตกต่ำโดยไม่ได้ระบุว่าหลักการอิสลามข้อไหนที่มีส่วนทำให้มุสลิมตกต่ำ อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับความจริงว่าในปัจจุบันอุมมะฮอิสลามอยู่ในสภาพที่ตกต่ำ แต่ต้องตระหนักว่าสาเหตุของความตกต่ำของอุมมะฮไม่ใช่เพราะหลักคำสอนของอิสลามแต่เป็นเพราะความหน่อมแน่มและขลาดกลัวของมุสลิมเอง
     “ทำนองเดียวกับที่ร่างกายคนเราย่อมไม่เพลี่ยงพล้ำแก่โรคภัยไข้เจ็บ เว้นแต่มันได้สูญเสียคุณสมบัติในการฟื้นฟูตัวเองขึ้นใหม่ไป เธอควรจะหยุดโทษว่าคนอื่นเสียที แล้วรวมศูนย์พลังงานของเธอไปฟื้นฟูบูรณะและกระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคมของเธอด้วยการให้การศึกษาและจัดตั้งมวลชน”  ในประเด็นนี้เป็นการใช้มาตรฐานความคิดของตนเองแล้วไปพิพากษาผู้อื่นว่าต้องปฏิบัติตามสิ่งซึ่งตนเองเชื่อ สิ่งนี้เป็นการบังคับอันร้ายแรงเพราะเป็นการบังคับทางความคิด/ทัศนะซึ่งมีอำนาจมากกว่าการบังคับด้วยกำลัง อย่างไรก็ตามสิ่งซึ่งภิกขุ ปาเร็ค กล่าวดูเหมือนว่าเชคอุซามะไม่ได้สร้างมวลชน ไม่ได้กระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคม ในประเด็นนี้ผู้เขียนขอโต้ว่า การต่อสู้เพื่อสร้างรัฐคิลาฟะฮบนหน้าแผ่นดินอีกครั้งนั่นคือการกระตุ้นพลังชีวิตใหม่ให้สังคม ให้กับอุมมะฮมุสลิมอีกครั้งหนึ่ง
     “เธอพูดถูกที่ว่าผู้ปกครองมุสลิมจำนวนมากเป็นแค่สมุนรับใช้ฉ้อฉลของมหาอำนาจภายนอก แต่เธอลืมไปว่าผู้ปกครองของเราไม่ใช่เผ่าพันธุ์ต่างดาว หากเป็นเงาขยายใหญ่ของตัวเองเอง เราสร้างพวกเขาขึ้นมาตามรูปโฉมของเรา และฉะนั้นเราจึงต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาเป็นและทำด้วย
โอซามา เธอเป็นผู้ไม่มีขันติ ไม่มีแผนบูรณะฟื้นฟูสังคมขึ้นใหม่ และไม่ปรารถนาจะจัดการแก้ไขมูลเหตุเบื้องลึกแห่งความเสื่อมโทรมทางสังคม เธอคิดจะอาศัยกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางศาสนา ที่จัดตั้งกันกระชับแน่นไปเปลี่ยนแปลงสังคม แต่ถ้าได้อำนาจมาเมื่อไหร่ พวกเขานั่นแหละก็จะเสื่อมทรามลง อหังการขึ้นและเผด็จการด้วยเหมือนกัน”  ในประเด็นนี้ผู้เขียนกล่าวในเรื่องผู้ปกครองก่อน กล่าวคือการที่ผู้ปกครอง/รัฐบาลมุสลิมต่างๆเป็นแค่สมุนรับใช้ฉ้อฉลของมหาอำนาจภายนอก ไม่ใช่กฏเกณฑ์ของอัลลอฮในการปกครองนั้นด้วยเหตุผลใดก็ตาม ย่อมเป็นความรับผิดชอบของผู้ปกครองผู้นั้นที่จะต้องตอบคำถามของอัลลอฮในวันพิพากษา
      ประเด็นต่อมาคือภิกขุ ปาเร็ค กล่าวอย่างลอยๆอีกว่าหากมุจาฮิดีนประสบความสำเร็จในการสร้างรัฐคิลาฟะฮขึ้นมาได้ ในท้ายที่สุดก็ย่อมเกิดการเผด็จการ สังคมเสื่อมทรามลงและบ้าอำนาจ ทั้งหมดเป็นการกล่าวอย่างไม่มีข้อพิสูจน์และเต็มไปด้วยอคติ กรณีตัวอย่าง หากผู้เขียนกล่าวว่าในขณะที่อินเดียได้รับเอกราชซึ่งผู้นำในการเรียกร้องคือคานธี และหากคานธีขึ้นปกครองประเทศแน่นอนว่าจะเกิดการสู้รบทางศาสนา เกิดการกดขี่ศาสนาชายขอบ เกิดการสืบทอดอำนาจเผด็จการ และสุดท้ายอินเดียจะต้องล่มสหาย ซึ่งทั้งหมดนี้ผู้เขียนต้องการเปรียบเทียบให้เห็นถึงการกล่าวอย่างอคติและไม่มีหลักฐานพิสูจน์ใดๆเลยของภิกขุ ปาเร็ค
     “ขณะที่เธอกล่าวโจมตีชาวอเมริกันซ้ำซาก เธอก็ว่าร้ายชาวยิวไม่ขาดปากด้วย และมักจะแสดงแนวคิดความรู้สึกที่ไม่เพียงแต่ต่อต้านรัฐของชาวยิวเท่านั้น แต่ยังต่อต้านเผ่าพันธุ์ยิวอย่างก้าวร้าวอีกต่างหาก ฉันไม่เห็นด้วยกับเธอเลยแม้สักนิด ฉันไม่เหมือนเธอตรงที่ฉันเคยอยู่และทำงานร่วมกับชาวยิวมา ชื่นชมคุณสมบัติทางภูมิปัญญาและศีลธรรมของพวกเขา และรู้จักตัวตนและประวัติศาสตร์ของพวกเขาเป็นอย่างดี
     ประเด็นนี้ผู้เขียนขอชี้แจงว่าอิสลามไม่ยอมรับการสังหารพลเรือนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวกับสงครามในทุกกรณีส่วนการที่เชคอุซามะเคยฟัตวาให้ความชอบธรรมในการสังหารพลเรือนอเมริกันด้วยเหตุผลที่ว่าชาวอเมริกันต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำของรัฐบาลของพวกเขานั้น ในประเด็นนี้ต้องวางอยู่บนหลักการศาสนากล่าวคือ ฟัตวาดังกล่าวของเชคอุซามะย่อมไม่เป็นที่ยอมรับได้ดังนั้นจึงเป็นเพียงทัศนะส่วนตัว(ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดได้)ไม่ใช่หลักการอิสลาม
     ประเด็นที่สอง ในเรื่องชาวยิวนั้นภิกขุ ปาเร็ค กล่าวเสมือนว่าอิสลามมีความชิงชังต่อชาวยิว ซึ่งการกระทำเป็นลักษณะชาติพันธุ์นิยมทั้งที่ในความจริงแล้วอิสลามปฏิเสธและไม่ยอมรับหลักการดังกล่าวเด็ดขาด แต่ยิวและรัฐอิสราเอลที่มุจาฮิดีนต่อต้านนั้นก็ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกเขาไม่ยุติธรรมต่ออุมมะฮอิสลามในกรณีการสร้างรัฐอิสราเอลดังนั้นการต่อต้านดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ที่การเป็นศาสนายูดายหรือการเป็นชาติพันธุ์ยิวแต่อยู่ที่การอยุติธรรมต่างหาก กล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็คือหากรัฐอิสราเอลไม่ใช่ชาติพันธุ์ยิวแต่เป็นชาติพันธ์ใดๆก็ตาม หากมีพฤติกรรมอันอยุติธรรมดังกล่าวเราก็ต้องต่อต้าน
      ฉันรู้ดีว่าเหยื่อของเมื่อวานอาจกลายเป็นผู้กดขี่พรุ่งนี้ได้ง่ายๆ แล้วก็หันไปใช้ทุกข์ทรมานในอดีตของตนเป็นข้ออ้าง หรือแม้แต่ความชอบธรรมให้แก่การปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างทารุณโหดร้าย หลายปีหลังนี้อิสราเอลได้ประพฤติตนอย่างอยุติธรรมโดยสหรัฐอเมริกาคอยสนับสนุน พฤติกรรมที่ผิดของอิสราเอลจักต้องถูกท้าทาย แต่เธอไม่พึงแข็งกระด้างเฉยชาต่อผลที่ความทุกข์ทรมานในอดีตมีต่อชาวยิว
เป็นธรรมดาอยู่เองที่พวกเขาจะถูกหลอนใจจากความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันขมขื่น รู้สึกจิตใจไม่มั่นคงอย่างลึกซึ้ง และบางครั้งแม้แต่จะวางใจคนนอกผู้ปรารถนาดีก็ยังยากเลย ในที่สุดพวกเขาก็พบบ้านและก็พอจะเข้าใจได้ว่า พวกเขาย่อมรู้สึกหวงแหนมันอย่างแรงกล้า ปัญหาอยู่ตรงบ้านใหม่ของพวกเขากลับไปทำให้ชาวปาเลสไตน์ไร้บ้าน และยังความทุกข์ทรมานแสนสาหัสแก่ชาวปาเลสไตน์
เราต้องหาทางให้ความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย ฉันเองกระตือรือร้นสนใจแนวคิดที่จะให้มีหนึ่งรัฐสองชาติ (bi-national state) สำหรับทั้งยิวและอาหรับแบบเดียวกับที่ฉันอยากให้มีประเทศอินเดียที่เป็นเอกภาพเหมือนกัน แต่ถึงฉันจะพยายามหยุดยั้งมันอย่างใด ในที่สุดอินเดียก็ถูกแยกประเทศ ฉันยอมรับมันด้วยหวังว่า เมื่อสองพี่น้องที่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ต่างคนต่างแยกย้ายไปตั้งบ้านของตัวเองต่างหากจากกัน และได้ระบายถ่ายเทความเป็นอริออกจากตัว แล้วพวกเขาจะไม่เพียงแต่อยู่ร่วมกันอย่างสันติเท่านั้น แต่บางทียังอาจจะกระทั่งฟื้นฟูสายสัมพันธ์อันหยั่งลึกใหม่ และใกล้ชิดสนิทสนมกันขึ้นด้วย.........



ติดตามรายละเอียดบทความเต็มพร้อมเชิงอรรถได้ที่   
 http://www.4shared.com/document/vISJDQ6E/_online.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น