วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิสลามไม่ใช่ประชาธิปไตย

      การสรรเสริญทั้งหมดเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ผู้เป็นพระเจ้าหนึ่งเดียวแห่งสากลโลก ชัยชนะย่อมเป็นของผู้ยำเกรงและไม่มีความเป็นศัตรูนอกจากกับบรรดาผู้ปฏิเสธอัลลอฮ์
       ขอปฏิญานว่าไม่มีพระเจ้า นอกจากอัลลอฮ์และมูฮัมมัดเป็นบ่าวและรอซูลลุลลอฮ์ ขอความโปรดปรานและความสันติมีแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้เป็นรอซูลท่านสุดท้าย ขออัลลอฮ์ประทานความโปรดปรานแด่ท่าน วงศ์วานของท่าน สหายผู้ประเสริฐของท่าน ขออัลลอฮ์ประทานความโปรดปรานแก่บรรดามุจาฮิดีน ผู้ซึ่งเจริญรอยตามศาสดามุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในการต่อสู้เพื่อสถาปนากฎหมายของอัลลอฮ์ขึ่นมาบนหน้าแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนบรรดาผู้เจริญรอยตามท่านรอซูลด้วยดีตราบวันแห่งการพิพากษา
     แท้จริงอัลลอฮ์ได้ส่งศาสนดามุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม มาพร้อมกับสัจธรรมของพระองค์เพื่อเป็นหลักการดำเนินชีวิตของมวลมนุษยชาติ เพื่อเป็นทางนำเพื่อเป็นความเมตตาแก่ผู้ใคร่ครวญและดำเนินวิถีตามที่อัลลอฮ์บัญชา ดังนั้นทางนำที่ดียิ่งคือทางนำของมูฮัมมัด และทางที่เลวคือทางอื่นจากนี้
     อัลลอฮ์อัซซะวะญัล กล่าวว่า
وَمَن لَّمْ يَحْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّـهُ فَأُولَـٰئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ
และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้คือกาเฟร (มาอิดะ : 44)

     เกี่ยวกับสาเหตุการประทานอายะฮ์นี้ อิบนุอับบาส ,อัลบะรอ บินอะซิบ, ฮุซัยฟะฮ์ บินยะมัน, ฮะซัน อัลบัศรี และท่านอื่นๆกล่าวว่า  อัลลอฮ์ได้ตำหนิอะฮ์ลุลกีตาบซึ่งพวกเขาได้หันเหไปใช้หลักการตัดสินอื่นจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์[1]
อิบนุญะรีร กล่าวว่า อะลี บินอะบีฏอลฮะ กล่าวว่า อิบนุอับบาส ได้อธิบายว่า
  فَأُولَـٰئِكَ هُمُ الْكَافِرُونَ
คือ ผู้ที่ปฏิเสธการใช้กฏหมายของอัลลอฮ์[2]   (เขาคือกาเฟร)  อบูดาวูดบันทึกเพิ่มเติมว่า อิบนุอับบาส กล่าวต่อไปอีกว่า พวกเขาใช่กฎหมายกุฟุร เกลียดผู้ศรัทธา เกลียดคัมภีร์ของอัลลอฮ์ เกลียดมลาอีกะ เกลียดรอซูลลุลลอฮ์[3]
                                     فَأُوْلَـئِكَ هُمُ الظَّـلِمُونَ
الْفَـسِقُونَ
คือผู้ที่ยอมรับกฎหมายของอัลลอฮ์แต่ไม่ได้นำมาใช้ ซึ่งพวกเขาคือซอลิมูน(ผู้อธรรม) ฟาสิกูน (ผู้ฝ่าฝืน) ซึ่งเป็นผู้กระทำบาป[4]
ในเรื่องนี้อิมามอิบนุบาซ รอฮ์มาตุลลอฮิอลัย กล่าวว่า
     ผู้ใดก็ตามที่เชื่อว่าทางนำอื่นนั้นดีกว่าทางนำของมุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม หรือเชื่อว่าข้อตัดสินอื่นนอกจากท่านนบี ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม นั้นดีกว่าข้อตัดสินของท่านนบีแล้วไซร้ ก็ดุจดังบุคคลที่พิจารณาว่าข้อตัดสิน(กฎหมาย)ของตะวาฆีต(ตอฆูต)นั้นคือสิ่งที่ดีกว่าข้อตัดสินของท่านนบี ดังนั้น(หากใครเชื่อเช่นนั้นก็ถือว่า)เขาคือกาเฟร
     เชคอับดุลอะซีส อัรอญิฮีย์ ได้ฟัตวาไว้ในหนังสือที่ท่านได้ทำการอรรถาธิบายหนังสือของเชคมุฮัมมัดบินอับดุลวะฮาบ รอฮ์มาตุลลอฮิอลัย ที่ชื่อว่า นะวากิดุลอิสลามไว้ดังนี้
     และเช่นนั้นแหละหากเขาเชื่อว่ามีกฎหมายอื่นที่ดีกว่ากฎหมายของมุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เช่นที่คนๆหนึ่งเชื่อว่าการตัดสินด้วยกฎหมายฆราวาส(เซคิวลาร์)นั้นดีกว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ ดังนั้นบุคคลเช่นนี้ได้ถือว่าตกศาสนาไปแล้วตามอิจญมาอ์ของบรรดามุสลิม และเช่นกันหากเขาเชื่อว่าการตัดสินด้วยกฎหมายเซคิวลาร์นั้นเสมอเหมือนกับการตัดสินด้วยกฎหมายชะรีอะฮ์ก็ถือว่าเขาได้กระทำการณ์อันเป็นกุฟร(การกระทำที่อยู่ในขอบข่ายของการปฏิเสธศรัทธา)
     เมื่อบุคคลใดได้ตัดสินด้วยกฎหมายเซคิวลาร์และศรัทธาว่ากฎหมายเหล่านั้นดีกว่ากฎหมายชะรีอะฮ์ก็ถือว่าเขาได้กระทำการณ์อันเป็นกุฟรเมื่อบุคคลใดได้ตัดสินด้วยกฎหมายเซคิวลาร์และเชื่อว่ามันเสมอเหมือนกับการตัดสินด้วยกฎหมายชะรีอะฮ์ก็ถือว่าเขาได้กระทำการณ์อันเป็นกุฟร และเมื่อบุคคลใดก็ตามที่เชื่อว่ากฎหมายชะรีอะฮดีกว่ากฎหมายเซคิวลาร์และเชื่อว่าการตัดสินด้วยกฎหมายเซคิวลาร์เป็นที่อนุมัติก็ถือว่าเขาได้ทำการกุฟรฺเช่นกัน ดังนั้นเงื่อนไขทั้งสามนี้คือปัจจัยที่ทำให้เขาให้เขากระทำการณ์อันเป็นกุฟร[5]
     อิมามมุฮัมมัด บิน ซอและฮ์ อัลอุษัยมีน รอฮิมาฮุลลอฮ์ ได้ฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ด้วยว่า
    ผู้นำที่เที่ยงธรรมคือผู้นำที่ยุติธรรมกับประชาชนของเขา แน่นอนว่าไม่มีความยุติธรรมใดๆที่จะถูกต้องกว่า และไม่มีข้อปฏิบัติใดๆที่จะเกิดผลได้ดี ยิ่งไปกว่าการใช้กฎหมายของอัลลอฮ์ นี้คือขั้นสูงสุดของความยุติธรรมที่แท้จริง


อ่านต่อ กด http://www.4shared.com/document/gR1EpCX5/_online.html?


[1] อิบนุกะซีร  ฉบับภาษาอังกฤษ โดยเชคซาฟิรเราะฮ์มาน อัลมุบารอกฟูรีย์  ซึ่งฉันได้ดูผ่านโปรแกรมตัฟซีรอิบนุกะษีรซึ่งไม่ได้ระบุหมายเลขหน้าไว้  (ต่อไปนี้จะใช้อ้างแค่ว่า อิบนุกะษีร)
[2] อิบนุกะษีร
[3] อิบนุกะษีร
[4] อิบนุกะษีร
[5] ชัรฟุดดีน อามิลี  อ้างใน  ข้อตัดสินว่าด้วยการใช้กฎหมายอื่นนอกจากกฎหมายของอัลลอฮฺ : กระบวนการพิทักษ์ความคิดมูลฐานต่อเอกวิทยาแห่งนิติศาสตร์   เพิ่มเติมที่ http://islamic-dialectic.blogspot.com/2011/01/blog-post_23.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น