วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สิ่งซึ่งอยู่เบื้องหลังหัจญ์



 

ซาเล็ม  บุญมาศ
กลุ่มอัซซาบิกูน
    
     การประกอบพิธีหัญจ์เป็นบทบัญญัติหนึ่งซึ่งมุสลิมต้องปฏิบัติตามที่ตนมีความสามารถ อัลลอฮ์ อัซซะวะญัล กล่าวไว้ในเรื่องการประกอบพิธีหัจญ์ว่า 

وَأَذِّن فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالًا وَعَلَىٰ كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِن كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ

     และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำหัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง (อัลหัจญ์ : 27)

وَأَتِمُّوا الْحَجَّ وَالْعُمْرَةَ لِلَّـهِ ۚ فَإِنْ أُحْصِرْتُمْ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ ۖ وَلَا تَحْلِقُوا رُءُوسَكُمْ حَتَّىٰ يَبْلُغَ الْهَدْيُ مَحِلَّهُ ۚ فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوْ بِهِ أَذًى مِّن رَّأْسِهِ فَفِدْيَةٌ مِّن صِيَامٍ أَوْ صَدَقَةٍ أَوْ نُسُكٍ ۚ فَإِذَا أَمِنتُمْ فَمَن تَمَتَّعَ بِالْعُمْرَةِ إِلَى الْحَجِّ فَمَا اسْتَيْسَرَ مِنَ الْهَدْيِ ۚ فَمَن لَّمْ يَجِدْ فَصِيَامُ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ فِي الْحَجِّ وَسَبْعَةٍ إِذَا رَجَعْتُمْ ۗ تِلْكَ عَشَرَةٌ كَامِلَةٌ ۗ ذَٰلِكَ لِمَن لَّمْ يَكُنْ أَهْلُهُ حَاضِرِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ ۚ وَاتَّقُوا اللَّـهَ وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّـهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ
    
     และพวกเจ้าจงให้สมบูรณ์ ซึ่งการทำหัจญ์ และการทำอุมเราะฮ์เพื่ออัลลอฮ์เถิด แล้วถ้าพวกเจ้าถูกสกัดกั้นก็ให้เชือดสัตว์พลีที่หาได้ง่าย และจงอย่าโกนศีรษะของพวกเจ้า จนกว่าสัตว์พลีนั้นจะถึงที่ของมัน แล้วผู้ใดในหมู่พวกเจ้าป่วยลง หรือที่เขามีสิ่งก่อความเดือดร้อนจากศรีษะของเขาก็ให้มีการชดเชย อันได้แก่การถือศีลอด หรือการทำทาน หรือการเชือดสัตว์ ครั้นเมื่อพวกเจ้าปลอดภัยแล้ว ผู้ใดที่แสวงหาประโยชน์จนกระทั่งถึงฮัจญ์ด้วยการทำอุมเราะฮ์แล้ว ก็ให้เชือดสัตว์พลีที่หาได้ง่าย ผู้ใดที่หาไม่ได้ ก็ให้ถือศีลอดสามวันในระหว่างการทำหัจญ์ และอีกเจ็ดวันเมื่อพวกเจ้ากลับบ้านนั่นคือครบสิบวัน ดังกล่าวนั้น สำหรับที่ครอบครัวของเขามิได้ประจำอยู่ที่อัล-มัสยิดิลฮะรอม และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และพึงรู้ด้วยว่า แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงลงโทษที่รุนแรง (บากอเราะฮ์ : 196)
     จากท่านอิบนุอุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า : 
«بُنِيَ الْإِسْلَامُ عَلَى خَمْسٍ، شَهَادَةِ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ الله، وَإِقَامِ الصَّلَاةِ وَإِيتَاءِ الزَّكَاةِ وَالْحَجِّ وَصَوْمِ رَمَضَانَ»
   
      อิสลามนั้นวางอยู่บนพื้นฐานหลักห้าประการ คือ การปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากองค์อัลลอฮฺ และมุหัมมัดคือศาสนทูตของพระองค์ การดำรงไว้ซึ่งการละหมาด การจ่ายซะกาต การประกอบพิธีหัจญ์ และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน” (บันทึกโดย อิมามบุคอรีย์  อิมามมุสลิม)
     นอกจากหัจญ์จะเป็นหลักการซึ่งถูกกำหนดไว้เพื่อให้มุสลิมที่มีความสามารถพร้อมในทุกๆด้านปฏิบัติแล้ว หัจญ์ยังมีวิทยาปัญญา(หรือภาษาอรับว่า ฮิกมะ) ซึ่งอยู่เบื้องหลักศาสนกิจอันยิ่งใหญ่อันนี้ ได้แก่
-หัจญ์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพ ภราดรภาพ ความเป็นพี่น้องหนึ่งเดียวของประชาคมมุสลิม กล่าวคือ ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่ามุสลิมคือพี่น้องกัน ในอดีตของอิสลามภาพความเป็นพี่นอ้งระหว่างมุสลิมฉายภาพออกมาอย่างชัดเจนผ่านการต่อสู้ร่มกันของมุสลิมในนามของนครรัฐมดีนะฮ์ซึ่งมีท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมเป็นผู้นำรัฐ แต่สภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันซึ่งกว้างใหญ่และมีประเทศมากมายที่มุสลิมอาศัยอยู่ซึ่งทำให้ภาพของความเป็นพี่น้องของมุสลิมพร่ามัวลงไปมาก อย่างไรก็ตามหัจญ์ยังคงฉายภาพความเป็นพี่น้องของมุสลิมอย่างเป็นรูปธรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ กล่าวคือ มุสลิมทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิว มารวมตัวกันด้วยสายเชือกแห่งอิสลาม

     หากจะกล่าวในเชิงปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ซึ่งประเทศต่างๆโลกปัจจุบันถูกจำกัดอธิปไตยของตนเองเหนือเส้นเขตแดน (territory) หรือระบบรัฐชาตินั้นเอง (Nation State) แต่สำหรับปรัชญาการเมืองอิสลามซึ่งก็คือระบอบคอลีฟะฮ์แห่งอุมมะฮ์อิสลามียะฮ์(ประชาชาติอิสลามทั้งปวง) ระบอบดังกล่าวนี้มีปรัชญาอธิปไตยเหนืออุมอะฮ์(Ummah) กล่าวคือ อิสลามมองว่าอธิปไตยแห่งรัฐอิสลามจะไม่ถูกจำกัดด้วยความเป็นรัฐสมัยใหม่แต่อำนาจอธิปไตยแห่งรับอิสลามจะต้องเหนืออุมมะฮ์ทั้งปวง
     ในปัจจุบันหลังยุคเวสฟาเลีย[1]มุสลิมถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายกลุ่มในหลายๆประเทศ ประกอบกับอิสลามปราศจากคอลีฟะฮ์หลังจากอาณาจักรอุษมานียะฮ์(ออตโตมัน)ล่มสลายกลายเป็ยสาธารณรัฐตุรกีและรัฐเล็กๆต่างๆ ส่งผลให้ภาพแห่งอธิปไตยเหนืออุมมะฮ์ถูกแทนที่ด้วยอธิปไตยเหนือดินแดนของความเป็นรัฐสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิง
     อย่างไรก็ตามในการประกอบพิธีหัจญ์ ณ มหานครศักดิ์สิทธิ์มักกะฮ์และมดีนะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย (ขออัลลอฮ์ประทานความจำเริญแก่ฮารอมัยน์และดินแดนอารเบีย) สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นพี่น้องซึ่งมารวมตัวกันจากทั่วทุกสารทิศทอย่างปราศจากการถูกจำกัดจากระบอบรัฐสมัยใหม่อย่างสิ้นเชิง

อัลลอฮ์ อัซซะวะญัล กล่าวว่า
إِنَّمَا الْمُؤْمِنُونَ إِخْوَةٌ

แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นเป็นพี่น้องกัน (หุญรอต : 10)


-หัจญ์แสดงให้เห็นถึงความเสมอภาคของมุสลิมทุกคนเพราะอิสลามปฏิเสธระบบที่วางอยู่บนความ ไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ อันได้แก่ ระบบวรรณะ ศักดินา ความแตกต่างด้านชาติพันธุ์หรือสีผิว ปราศจากเหลื่อมล้ำระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ชนผิวขาวกับชนผิวดำ นายหรือบ่าวไพร่ เจ้าหน้าที่
หรือประชาราษฎร์ ทุกคนจะอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกันหมด เมื่อผู้ประกอบพิธีหัจญ์เริ่มตั้งใจ
อิหฺรอมที่มิก็อต[2] โดยการนุ่ง1ผืน ห่มกาย 1ผืน ด้วยผ้าขาวสองผืนนี้ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตามซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเท่าเทียมกันอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ภาพที่ผู้อ่านมเห็นเป็นประจำคือการที่มุสลิมทุกเชื้อชาติ ทุกสีผิวภายใต้ผ้าขาวของผืนมารวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกัน ณ มีกอตเพื่อหลอมรวมเข้าสู่การประกอบพิธีหัจญ์อย่างพร้อมเพรียงกันและเท่าเทียมกัน


 قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِنَّ اللَّهَ لَا يَنْظُرُ إِلَى صُوَرِكُمْ وَأَمْوَالِكُمْ وَلَكِنْ يَنْظُرُ إِلَى قُلُوبِكُمْ وَأَعْمَالِكُمْ                           
    
     รายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ  เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านร่อซูลลุลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า แท้จริง อัลลอฮไม่ทรงพิจารณาที่รูปโฉมของพวกท่าน และทรัพย์สินของพวกท่าน แต่พระองค์จะทรงพิจารณาที่หัวใจของพวกท่าน และการกระทำของพวกท่าน   ( บันทึกโดยอิมามมุสลิม )

-หัจญ์เป็นการแสดงออกซึ่งรูปธรรมและนัยยะแห่งสันติภาพอย่างมีเหตุผลของศาสนาอิสลาม อันได้แก่ ดินแดนที่ใช้ประกอบพิธีหัจญ์ คือ มหานครศักดิ์สิทธิ์มักกะฮ์และมดีนะฮ์ ประเทศซาอุดิอารเบีย (ขออัลลอฮ์ประทานความจำเริญแก่ฮารอมัยน์และดินแดนอารเบีย) หรือเรียกว่า ฮารอมัยน์ ซึ่งมีความหมายว่า ดินแดนต้องห้ามทั้งสอง เพราะอัลลอฮ์ห้ามหลั่งเลือด(สงคราม)และการทำลายต่างๆในดินแดนแห่งสันติภาพทั้งสองนี้ นอกจากนี้ในช่วงเวลาของการทำหัจญ์ห้ามกระทำในสิ่งซึ่งเป็นการทำลายต่างๆ 
     อัลลอฮ์อัซซะวะญัล กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

فِي كِتَابِ اللَّـهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ۚ ذَٰلِكَ الدِّينُ الْقَيِّمُ ۚ فَلَا تَظْلِمُوا فِيهِنَّ أَنفُسَكُمْ

      ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม[3]นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น (อัตเตาบะ : 36)

-หัจญ์เป็นการกระตุ้นให้อุมมะฮ์ในยุคปัจจุบันได้ระลึกถึงเรื่องราวของสลัฟ อัศศอและห์ (กัลยาชนมุสลิมรุนแรก) ในการต่อสู้ ความพร้อมเพรียงกัน และความสำคัญในการก่อสร้างรัฐอิสลามแห่งมดีนะฮ์ผ่านซอฮิฟาตุลมดีนะฮ์(Madinah Charter ) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญร่วมกันในการปกครอง นอกจากนี้ในอดีตคอลีฟะฮ์ อัรรอชิดีน (ผู้ปกครองอิสลามอันทรงธรรม)และคอลีฟะฮ์แห่งยุคที่อิสลามยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น 12 ท่าน[4]   ยังใช้โอกาสที่มุสลิมจากทุกดินแดนที่อิสลามปกครองมาประกอบพิธีหัจญ์ กล่าวคุตบะ (เทศนาใหญ่ ถ้าเปรียบเปรียบปัจจุบันได้แก่การที่ผู้ปกครองกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าประชาชนกับแสนนั้นเอง) นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนในดินแดนห่างไกลต่างๆถือโอกาสหลังเสร็จสิ้นเทศกาลหัจญ์โดยมีข้าหลวงทุกคนที่ถูกส่งไปปกครองแต่ละดินแดนเข้าร่วมรับฟังด้วย เพราะในอดีตคอลีฟะฮ์ได้ออกกฏให้ข้าหลวงทุกคนมาประกอบพิธีหัจญ์ร่วมกันทุกปีเพื่อสอบถามในเรื่องการปกครองดินแดนห่างไกลต่างๆ

     นอกจากประเด็นซึ่งผู้เขียนได้กล่าวข้างต้นแล้ว การประกอบพิธีหัจญ์ยังมีวิทยปัญญาที่อยู่เบื้องหลังอีกหลายประการซึ่งผู้เขียนมาอาจกล่าวได้ทั้งหมดเนื่องจากข้อจำกัดของหน้ากระดาษ อันได้แก่ การทำหัจญ์เป็นการขัดเกลาจิตวิญญาณแห่งความเป็นมุสลิม การขัดเกลามาทยาทอันดีงามต่อพี่น้องมุสลิมและผู้คนทั่วไป นอกจากนี้เป็นการเสียสละความสะดวกสบายและทรัพย์สินแห่งดุนยา(โลกนี้) เพื่อเป็นเสบียงไปสู่โลกอาคิเราะฮ์ (โลกหน้าอันนิรันดร์)

 จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า :

سمعت النبي صلى الله عليه وسلم يقول: «مَنْ حَجَّ ، فَلَـمْ يَرْفُثْ وَلَـمْ يَفْسُقْ، رَجَعَ كَيَومِ وَلَدَتْـهُ أُمُّهُ»

      ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ผู้ใดประกอบพิธีหัจญ์ โดยที่เขาไม่พูดจาหยาบโลน (หรือมีเพศสัมพันธ์) และไม่กระทำบาปความผิดใดๆ เขาจะกลับไปโดยที่เขา (ปราศจากบาป) ประดุจวันที่มารดาของเขาคลอดเขาออกมา” (บันทึกโดย อิมามบุคอรีย์และอิมามมุสลิม ) 

จากท่านอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

«تَابِعُوا بَيْنَ الحَجِّ وَالعُمْرَةِ، فَإنَّـهُـمَا يَنْفِيَانِ الفَقْرَ وَالذُّنُوبَ كَمَا يَنْفِي الكِيرُ خَبَثَ الحَدِيدِ وَالذَّهَبِ وَالفِضَّةِ، وَلَيْسَ لِلْـحَجَّةِ المَبْرُورَةِ ثَوَابٌ إلا الجَنَّةُ»              
    
     พวกท่านจงประกอบพิธีหัจญ์และอุมเราะฮฺอย่างต่อเนื่อง แท้จริงแล้วทั้งสองสิ่งนี้จะทำให้ปราศจากซึ่งความยากจนและบาปความผิด ประดุจดั่งการหลอมไฟที่ปัดเป่าส่วนที่ไม่ดีของเหล็ก ทองคำ และเงิน ซึ่งหัจญ์มับรูรฺ[5]ที่ถูกตอบรับนั้นจะมีผลบุญอื่นไปไม่ได้นอกเหนือจากสรวงสวรรค์ (บันทึกโดยอิมามอะหฺมัดและอิมามตัรมิซีย์)

ขออัลลอฮ์ตอบรับการประกอบพิธีหัจญ์ของพี่น้องมุสลิมทั้งปวง อามีน


[1] ยุคแห่งการเกิดรัฐสมัยใหม่
[2] จุดพรมแดนที่ผู้ประกอบพิธีหัจญ์ต้องตั้งใจและปฏิบัติตาม
เงื่อนไขของหัจญ์
[3] คือต้องห้ามในการต่อสู้กัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเดือนที่ปลอดภัยแก่ผู้ประกอบพิธีอุมเราะฮ์ และพิธีหัจญ์ อันเป็นบัญญัติที่อัลลอฮ์ได้ทรงกำหนดไว้โดยผ่านท่านนะบีอิบรอฮีม และนะบีอิสมาอีล ซึ่งเดือนเหล่านั้นได้แก่เดือน ซุลเกาะดะฮ์ ซุลฮิจญะฮ์ อัล-มุฮัรรอม และเดือนร่อญับ 
[4] ได้แก่  อบูบักร, อุมัร, อุษมาน, อะลี, มุอาวิยะ, ยะซีด,  อับดุลมาลิก, วะลีด, สุลัยมาน, อุมัร บินอับดุลอะซีซ,  ยะซีด บินอับดุลมาลิก, ฮิซาม บินอับดุลมาลิก
[5] หัจญ์ที่ถูกต้องซึ่งถูกตอบรับจากอัลลอฮ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น